Illness name: ตาเข
Description: ตาเข (Strabismus/Squint) หรือตาเหล่ เป็นปัญหาทางสายตาที่เกิดจากดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียว ข้างใดข้างหนึ่งอาจมองตรง ส่วนอีกข้างอาจจะเฉไปด้านใน ด้านข้าง บน หรือล่าง โดยพบได้บ่อยในเด็กเล็ก เกิดได้กับทุกวัย ตาเขแบ่งออกได้หลายแบบ ดังนี้
ตาเขในแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน บางรายอาจมีอาการตลอดเวลาหรือเกิดขึ้นชั่วคราว โดยอาการที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้
กรณีที่พบความผิดปกติในการมองเห็น ปัญหาทางสายตาอื่น ๆ หรือสังเกตเห็นว่าตำแหน่งดวงตาผิดเพี้ยนไป ควรไปพบแพทย์ ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและพัฒนาการทางด้านสายตาเป็นไปตามวัย สาเหตุของตาเข ตาเขยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด บางรายมีอาการตาเขตั้งแต่กำเนิดหรืออาจพัฒนาขึ้นในช่วงหลัง โดยพบว่าอาการนี้ถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์และอาจมีหลายปัจจัยกระตุ้นให้เกิด ได้แก่ ตาเขแต่กำเนิด (Congenital Strabismus) จะเกิดกับทารกแรกคลอดหรืออาจพัฒนาอาการขึ้นภายใน 6 เดือนหลังคลอด เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกัน ส่วนใหญ่จะเป็นตาเขเข้าด้านใน (Congenital Esotropia/Infantile Esotropia) และตาเขออกด้านนอก (Congenital Exotropia) อาการที่พบได้น้อยจะเป็นตาเขขึ้นบนหรือลงล่าง ซึ่งตาเขในลักษณะนี้ถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ได้ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ตาเขที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางสายตา (Strabismus Related To Refractive Errors) อาจเป็นไปได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งเป็นผลมาจากการหักเหของแสงที่ส่องผ่านแก้วตาผิดปกติ สาเหตุอื่น ๆ ในบางกรณีอาจพบอาการตาเขได้จากปัจจัยอื่น
เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีอาการตาเข เบื้องต้นแพทย์จะตรวจการมองเห็นของสายตาว่ามองไปในทิศทางเดียวพร้อมกันหรือไม่ โดยให้มองสิ่งของโดยปิดตาข้างใดข้างหนึ่งไว้และลืมตามองปกติ เพื่อดูการเคลื่อนไหวของดวงตาในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน (Cover/Uncover Test) ทำให้แพทย์ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของการมองเห็นในลักษณะใดและยังช่วยตรวจพบภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia/Lazy Eye) ซึ่งมักพบได้บ่อยในเด็กที่มีอาการตาเข จากนั้นจะเป็นการตรวจสายตาอย่างละเอียด (Standard Ophthalmic Exam) เริ่มตรวจได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กทารก นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายพื้นฐานทางจักษุวิทยาด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเสี่ยงและอาการที่พบของผู้ป่วย เช่น การตรวจรีเฟล็กซ์กระจกตา (Corneal Light Reflex) การตรวจจอประสาทตา (Retinal Exam) การวัดสายตา (Visual Acuity Test) รวมไปถึงมีการตรวจทางด้านสมองหรือระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกันในบางราย การรักษาตาเข ตาเขรักษาได้หลายวิธี หากตรวจพบและรักษาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ โดยเฉพาะในช่วงอายุไม่เกิน 8 ปี จะมีโอกาสหายเป็นปกติได้สูงกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการพัฒนาของดวงตาและสมอง ซึ่งแนวทางในการรักษาอาจใช้หลายวิธีควบคู่กัน ดังนี้
การปล่อยให้เกิดอาการตาเขจะส่งผลให้รูปลักษณ์ภายนอกดูไม่สวยงาม เกิดความอับอาย และอาจนำไปสู่ปัญหาความผิดปกติของการมองเห็นหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังโดยไม่รักษาให้หายขาด เช่น การมองเห็นภาพซ้อน ตามัวอย่างถาวร ภาวะตาขี้เกียจที่เกิดจากสมองไม่สั่งการดวงตาข้างที่ตาเข เนื่องจากถูกใช้งานน้อยกว่าข้างที่แข็งแรง จึงทำให้ดวงตาข้างนั้นไม่ถูกพัฒนาไปตามวัย หรือสูญเสียการมองเห็นถาวร นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการตาเขมาเป็นระยะเวลานานอาจรักษาได้ยากมากขึ้น และการผ่าตัดอาจจะช่วยได้เฉพาะการปรับตำแหน่งดวงตาให้กลับมาเป็นปกติ แต่อาจพบปัญหาในการมองเห็นเช่นเดิม การป้องกันตาเข การตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอเป็นการป้องกันอาการตาเขได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเด็กอายุระหว่าง 3-5 ปี เนื่องจากการตรวจพบและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสให้ดวงตากลับมาใช้งานได้เป็นปกติ ช่วยแก้ไขตำแหน่งดวงตาและการกะระยะของการมองเห็นให้ใกล้เคียงกับคนทั่วไป บางรายอาจหายเป็นปกติ ความหมาย ตาเข
อาการตาเข
การสังเกตอาจทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดตาเขมากกว่าวัยผู้ใหญ่ และตัวเด็กเองก็อาจแยกไม่ออกว่าเกิดอาการกับดวงตาหรือไม่ ยกเว้นในกรณีที่มองเห็นความผิดปกติจากดวงตาได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือนมักเป็นเรื่องปกติที่พบอาการตาเขเป็นครั้งคราว เนื่องจากกล้ามเนื้อดวงตายังไม่แข็งแรง พ่อแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กเป็นระยะ และขอคำแนะนำจากแพทย์หากทารกอายุมากกว่า 3 เดือนยังคงมีอาการตาเขเป็นครั้งคราวหรือเป็นตลอดเวลา เด็กบางคนอาจพยายามเอียงศีรษะหรือเหล่ตาเวลามอง ซึ่งอาจพัฒนาอาการตาเขหรือมองเห็นภาพซ้อนเมื่อโตขึ้น
การวินิจฉัยตาเข
ภาวะแทรกซ้อนของตาเข