Illness name: ภาวะรกเสื่อม
Description: Placental Insufficiency หรือ ภาวะรกเสื่อม เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ เกิดจากรกเจริญเติบโตผิดปกติหรือได้รับความเสียหาย ซึ่งรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารก มีหน้าที่หลักในการนำออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดของทารกและกำจัดของเสียออกไปผ่านร่างกายมารดา หากเกิดภาวะรกเสื่อม ทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ถูกส่งผ่านมาทางรกน้อยลง จนอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยขณะคลอด หรืออาจทำให้คลอดยากขึ้นได้ โดยหากตรวจพบภาวะนี้เร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก โดยส่วนใหญ่แล้ว Placental Insufficiency มักไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อมารดา แต่บางกรณีผู้ป่วยอาจพบว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อย หรือมดลูกอาจมีขนาดเล็กกว่าปกติเมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ซึ่งหากทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโตอย่างสมวัย มารดาจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกน้อยกว่าปกติ และครรภ์จะมีขนาดเล็กอีกด้วย นอกจากนี้ ภาวะรกเสื่อมอาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด หรืออาจมีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดได้ Placental Insufficiency เป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาการไหลเวียนเลือด ซึ่งความผิดปกติที่เกี่ยวกับเลือด หลอดเลือด ยาบางชนิด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงแบบเรื้อรัง ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกยึดติดกับผนังมดลูกไม่แน่นพอ ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาเจือจางเลือด การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้ ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวไปอาจทำให้รกมีความผิดปกติอย่างอื่นได้อีก เช่น รกมีรูปร่างผิดปกติ รกมีขนาดเล็กเกินไป เป็นต้น ในเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถตรวจความผิดปกติได้ด้วยตนเอง โดยอาจใช้วิธีจดบันทึกเมื่อทารกในครรภ์ดิ้นหรือขยับตัวในแต่ละวัน หากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ทั้งนี้ แพทย์สามารถวินิจฉัย Placental Insufficiency ได้หลายวิธี เช่น การรักษา Placental Insufficiency ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ผลการวินิจฉัย กำหนดคลอด หรือปัญหาอื่น ๆ อย่างโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นต้น หากมารดามีครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์และผลตรวจทารกในครรภ์ไม่พบสัญญาณความผิดปกติชัดเจน แพทย์อาจแนะนำให้พักผ่อนมากขึ้นโดยยังไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ และควรไปตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ หรือแพทย์อาจฉีดสเตียรอยด์ให้มารดาหากแพทย์กังวลว่าทารกอาจคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสเตียรอยด์จะซึมผ่านรกไปสู่ตัวเด็กและทำให้ปอดแข็งแรงขึ้น รวมทั้งหากมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน การรักษาโรคดังกล่าวก็อาจช่วยให้ทารกเจริญเติบโตดีขึ้น ส่วนกรณีที่มารดามีครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์หรือตรวจพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ แพทย์อาจแนะนำให้คลอดเด็กด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การใช้ยากระตุ้นให้เกิดการคลอด หรือใช้วิธีผ่าคลอดเป็นต้น นอกจากนี้ หากมารดามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (IUGR) ที่เป็นอยู่มีความรุนแรงขึ้น แพทย์อาจต้องดูแลอาการของมารดาอย่างใกล้ชิดร่วมด้วย ผู้ที่เผชิญภาวะ Placental Insufficiency อาจมีความเสี่ยงเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ระหว่างคลอดได้ เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด เจ็บคลอดหรือคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น หากมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ ภาวะแทรกซ้อนจาก Placental Insufficiency อาจส่งผลกระทบต่อทารกได้อีกด้วย เช่น เกิดการขาดออกซิเจนขณะคลอด ภาวะตัวเย็นเกิน ภาวะเลือดข้น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิต เป็นต้น โดยหากเกิดภาวะรกเสื่อมในช่วงอายุครรภ์ที่น้อยเท่าใด ผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ก็อาจรุนแรงขึ้นตามไปด้วย ภาวะ Placental Insufficiency อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้กับทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งบางครั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ดังนั้น มารดาควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพราะอาจช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้ ความหมาย ภาวะรกเสื่อม (Placental Insufficiency)
อาการของ Placental Insufficiency
สาเหตุของ Placental Insufficiency
การวินิจฉัย Placental Insufficiency
การรักษา Placental Insufficiency
ภาวะแทรกซ้อนของ Placental Insufficiency
การป้องกัน Placental Insufficiency