Illness name: sciatica ไซอาติก้า
Description: Sciatica หรือไซอาติก้า เป็นอาการปวดจากการระคายเคืองของเส้นประสาทไซอาติก ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบและเกิดอาการปวดตามมา ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือเอว ก้น และขาเพียงซีกใดซีกหนึ่ง โดยอาการปวดลักษณะนี้มักเกี่ยวข้องกับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท และโรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการปวด Sciatica มักคงอยู่สักพักแล้วดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์ แต่บางรายก็อาจรุนแรงจนกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการปวดนานกว่า 1 สัปดาห์ ปวดอย่างฉับพลันหรือรุนแรงบริเวณหลังส่วนล่างหรือขา รู้สึกชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ขา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุรุนแรง Sciatica เกิดจากเส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับที่จุดใดจุดหนึ่งในร่างกาย จนทำให้เส้นประสาทเกิดการระคายเคืองและอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเคลื่อนไปทับเส้นประสาท และโรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ไม่บ่อยนัก เช่น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังและกระตุ้นให้เกิดอาการปวด Sciatica ตามมา ได้แก่ แพทย์จะวินิจฉัยอาการปวด Sciatica เบื้องต้นด้วยวิธีการ ดังนี้ แพทย์จะสอบถามประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย โดยทดสอบความแข็งแรงกล้ามเนื้อและการตอบสนองทางระบบประสาทของร่างกาย แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทดลองเดินบนปลายเท้าหรือส้นเท้า ให้นอนลงแล้วลุกขึ้น หรือยกเท้าทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน เพราะการทำกิจกรรมเหล่านี้มักส่งผลให้อาการปวดแย่ลง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงหรือไม่หายขาดภายใน 2-3 สัปดาห์ แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติให้ชัดเจนมากขึ้นจากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีภาวะแคลเซียมพอกกระดูกสันหลังเกินกว่าปกติและไปกดทับโดนเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่อาการปวด ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวด Sciatica จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยควรพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานยาแก้ปวด ออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อ โดยหลีกเลี่ยงการกระโดด เหวี่ยง หรือบิดตัวแรง ๆ บางรายแพทย์อาจให้ประคบเย็นในบริเวณที่มีอาการปวดนาน 20 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน ก่อนจะสลับมาประคบร้อนด้วยวิธีการเดียวกัน แต่หากอาการปวดรุนแรงมาก ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ระยะเวลาในการปวด ยาที่รับประทานอยู่ ประวัติทางการแพทย์อื่น ๆ การเกิดอุบัติเหตุครั้งล่าสุด หรือข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาขั้นต่อไป ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีการรักษาทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจช่วยบรรเทาอาการปวดให้น้อยลง เช่น การฝังเข็ม ไคโรแพรกทิค (Chiropractic) ที่เป็นศาสตร์ใหม่ในการรักษาและบำบัดผู้ป่วยโรคกระดูก การเล่นโยคะ หรือการฝึกพิลาทีส เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาให้หายขาดมักจะมีอาการปวดอย่างเรื้อรัง เส้นประสาทถูกทำลายจนได้รับความเสียหายถาวร จนอาจทำให้ขาข้างที่มีอาการปวดเริ่มไม่มีความรู้สึก กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระได้ บางสาเหตุของอาการปวด Sciatica ก็อาจป้องกันได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน อาการปวดหลังจากการตั้งครรภ์ หรือการลื่นล้ม เป็นต้น ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บบริเวณหลังได้ด้วยคำแนะนำต่อไปนี้ความหมาย ไซอาติก้า (Sciatica)
อาการไซอาติก้า
สาเหตุของไซอาติก้า
การวินิจฉัยไซอาติก้า
การตรวจร่างกาย
การเอกซเรย์
การรักษาไซอาติก้า
ภาวะแทรกซ้อนของไซอาติก้า
การป้องกันไซอาติก้า