Illness name: เนื้องอกในสมอง
Description: เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) คือก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ในสมอง เนื้อเยื่อ และต่อมต่าง ๆ บริเวณใกล้เคียงกับสมอง ซึ่งอาจรบกวนระบบประสาทและการทำงานของสมองจนทำให้มีอาการต่าง ๆ ตามมา สัญญาณเตือนของโรคเนื้องอกในสมองอาจได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน มีปัญหาด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ การพูด การได้ยิน การมองเห็น ความจำ ไปจนถึงอาจเกิดอาการชัก เป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือลุกลามเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เนื้องอกในสมองมี 4 ระดับ โดยวัดระดับ 1–4 ตามลำดับการเจริญเติบโตของเนื้องอกและโอกาสในการกลับมาเป็นอีกแม้ได้รับการรักษาแล้ว ทั้งนี้ เนื้องอกที่เกิดขึ้นในสมองไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็งเสมอไป โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ เนื้องอกประเภทนี้เป็นเนื้องอกไม่อันตราย (ระดับ 1–2) มีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ และมีโอกาสน้อยที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษา เนื้องอกชนิดนี้อันตรายเพราะเป็นเนื้อร้าย (ระดับ 3–4) มีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมองหรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง เนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็งจะมีการเจริญเติบโตเรื่อย ๆ อย่างไม่สามารถควบคุมได้ และมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีกแม้เคยผ่านการรักษาไปแล้ว โดยทั่วไปเนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็งจะพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา เนื้องอกในสมองมักมีชื่อเรียกแยกตามชนิดของเซลล์ที่เป็นเนื้องอก เช่น สำหรับเนื้องอกในสมองเด็ก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อร้ายที่เกิดบริเวณสมองส่วนหลังแล้วแพร่กระจายผ่านทางน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลัง มักพบมากในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากการมีก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณสมองแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งลักษณะและความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอก บริเวณที่มีเนื้องอก และชนิดของเนื้องอกในสมองด้วย โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากการมีเนื้องอกในสมอง ได้แก่ เนื้องอกในสมองแต่ละประเภทเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ เนื้องอกประเภทนี้เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมองหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ เนื้อเยื่อที่เกิดจากเซลล์ผิดปกติเหล่านี้จึงก่อตัวเป็นเนื้องอกบริเวณสมอง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่สมองและระบบประสาทwww.pobpad.com/เรื่องน่ารู้ของระบบประที่ใกล้เคียง เนื้องอกประเภทนี้มีอัตราการเจริญเติบโตและสร้างความเสียหายแก่ร่างกายมากกว่าเนื้องอกธรรมดา โดยเกิดได้จากเซลล์มะเร็งก่อตัวขึ้นที่สมอง หรือมีเซลล์มะเร็งที่อวัยวะอื่นแล้วแพร่ลามเข้าสู่สมองทางกระแสเลือด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งปอด หรือมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย แม้ว่าสาเหตุของเนื้องอกในสมองยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเนื้องอกในสมอง ได้แก่ ส่วนสาเหตุอื่นอย่างรังสีไมโครเวฟหรือคลื่นโทรศัพท์ ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงได้ว่าอาจมีผลต่อการเกิดเนื้องอกในสมองหรือไม่ ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางประสาทวิทยาก่อน เช่น ตรวจทัศนวิสัยในการมองเห็น การได้ยิน การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกาย หากแพทย์พบอาการป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคหรือสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจส่งตรวจหาเนื้องอกในสมองด้วยการสแกนสมอง ซึ่งเป็นการฉายภาพรังสีให้เห็นสมองและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายใน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสี PET Scan ในกรณีที่ตรวจพบเนื้องอกในสมอง แพทย์อาจส่งตรวจอวัยวะอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อหาตำแหน่งของเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่ลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปได้ และแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อบางส่วน (Biopsy) ไปตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในขั้นและระดับความรุนแรงใด เป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาในขั้นต่อไป การรักษาเนื้องอกในสมองมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความรุนแรงของโรค เช่น หากเนื้องอกในสมองอยู่ในบริเวณที่ง่ายต่อการผ่าตัด ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงจนเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออกไปจากจุดที่มีเนื้องอกในสมองให้ได้มากที่สุด แพทย์จะใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าทำลายเนื้องอกในสมองที่เป็นเซลล์มะเร็ง สามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีww.pobpad.com/radiation-การฉายรังสีฉายแสงเพื่จากภายนอก และการฝังรังสี (Brachytherapy) เข้าไปภายในบริเวณที่ใกล้เคียงกับเนื้องอกในสมอง รังสีศัลยกรรมเป็นวิธีรักษาโดยการฉายรังสีจากหลาย ๆ ทางไปยังจุดที่เป็นเนื้องอกพร้อมกัน เพื่อทำลายเซลล์เนื้องอกที่มีขนาดเล็ก เคมีบำบัดwww.pobpad.com/เตรียมให้พร้อมก่อนรับคเป็นการใช้ยารักษาและฆ่าเซลล์เนื้องอก มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม อาจใช้ยาร่วมกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะและความรุนแรงของเนื้องอก หากเป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็งที่อวัยวะส่วนอื่น ต้องได้รับยารักษาตามแต่ชนิดของมะเร็งเป็นกรณีไป สำหรับเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย แพทย์อาจให้ยารักษาที่มีผลการรักษาเจาะจงไปทำลายเซลล์มะเร็งจุดต่าง ๆ เช่น ใช้ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab) ฉีดเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อรักษาเนื้องอกไกลโอบลาสโตมา ด้วยการยับยั้งการสร้างเซลล์เลือดใหม่ไม่ให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้องอก และฆ่าทำลายเซลล์เนื้องอกในที่สุด สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อันเป็นผลมาจากการมีเนื้องอกในสมอง และบางอาการอาจเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิต ได้แก่ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของเนื้องอกในสมองที่แน่ชัด และบางปัจจัยเสี่ยงของโรคอย่างอายุและกรรมพันธุ์ ก็ไม่สามารถป้องกันได้ แนวทางการป้องกันจึงทำได้เพียงการระมัดระวังในการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่เอื้อให้เกิดเนื้องอกในสมองและเซลล์มะเร็งอื่น เช่น รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีรังสี หรือมีสารพิษสารเคมีที่เป็นอันตราย ความหมาย เนื้องอกในสมอง
อาการของเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา (Benign Brain Tumors)
เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย (Malignant Brain Tumors)
สาเหตุของเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา
เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย
การวินิจฉัยเนื้องอกในสมอง
การรักษาเนื้องอกในสมอง
การผ่าตัด
การฉายแสง (Radiation Therapy)
รังสีศัลยกรรม (Radiosurgery)
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง
ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกในสมอง
การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง