Illness name: โรคเกล็ดเลือดต่ำ
Description: Immune thrombocytopenia (ITP) หรือ Idiopathic Thrombocytopenic Purpura เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmune Disease) ที่ทำให้เกิดรอยช้ำบนผิวหนังหรือบริเวณเยื่อบุผิวในช่องปาก เลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกง่าย โดยมีสาเหตุจากจำนวนเกล็ดเลือดลดลงมากผิดปกติ ซึ่ง ITP เป็นโรคที่พบได้ทุกวัย แต่ในเด็กมักพบหลังการติดเชื้อไวรัสบางชนิดในร่างกาย เช่น อีสุกอีใส คางทูม หรือโรคหัด เป็นต้น ตามปกติแล้วเกล็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูกมีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวและอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือด แต่หากเกล็ดเลือดลดต่ำลงจะทำให้เลือดแข็งตัวช้าและมีเลือดออกในร่างกายหรือใต้ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ โดยในระยะแรกมักไม่มีอาการและอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้นควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยแพทย์อาจให้ยากระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือด หรือให้ผู้ป่วยรักษาด้วยการผ่าตัดม้ามเมื่อรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผล โดยปกติ คนเราจะมีจำนวนเกล็ดเลือดอยู่ที่ประมาณ 150,000–450,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร แต่ผู้ป่วยโรค ITP จะมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร และบางรายอาจมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการมีเลือดออกรุนแรง โรค ITP อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เป็นประเภทที่พบได้บ่อย มักพบในเด็กเล็ก อายุระหว่าง 2–6 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในร่างกาย อาการจะเกิดขึ้นทันที มักหายดีภายใน 6 เดือน และไม่มีอาการซ้ำอีกในภายหลัง ผู้ป่วยจึงอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ใช้เรียกเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน พบได้มากในทุกวัย แต่จะพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่น และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย บางกรณีผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการซ้ำอีกจึงจำเป็นต้องติดตามอาการเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกมักไม่พบอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะพบอาการที่แตกต่างกัน เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจทำให้มีเลือดไหลไม่หยุด เลือดออกในสมองที่อาจเกิดจากการประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ศีรษะ หรืออาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ ในกรณีที่มีอาการเลือดไหลไม่หยุดแม้จะห้ามเลือดด้วยการการปฐมพยาบาลแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ในอดีต ITP เป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจุบันมีการแบ่งสาเหตุการเกิดโรค ITP ได้เป็น 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุปฐมภูมิ (Primary ITP) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และสาเหตุทุติยภูมิ (Secondary ITP) ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว การใช้ยา หรือสภาวะร่างกายของผู้ป่วย เป็นต้น โดยปกติแล้ว ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แต่ผู้ป่วยโรค ITP อาจมีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ทำให้แอนติบอดี้ทำลายเกล็ดเลือดและขับออกจากร่างกายผ่านม้าม ทำให้จำนวนเกล็ดเลือดลดต่ำลงกว่าปกติ นอกจากนี้ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันยังกระทบต่อกระบวนการสร้างเกล็ดเลือด ทำให้ผลิตเกล็ดเลือดเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยลง ในบางกรณีเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยอาจโจมตีเกล็ดเลือดโดยตรงเอง ทำให้เกล็ดเลือดถูกทำลายได้เช่นกัน ปัจจัยต่าง ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค ITP ได้ดังต่อไปนี้ แพทย์จะสอบถามอาการ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ ประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัว อาหารและยาที่รับประทาน จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้น ร่วมกับการวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อตัดสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการใกล้เคียงกับโรค ITP อย่างมีเลือดออกหรือมีเกล็ดเลือดต่ำ ด้วยวิธีต่อไปนี้ ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการของ ITP ชนิดเฉียบพลัน และผู้ใหญ่บางรายที่มีอาการไม่ร้ายแรง อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่แพทย์จะตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง และผู้ป่วยควรดูแลตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ ต่อไปนี้ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น โรคประจำตัว อายุ สุขภาพโดยรวม ประวัติการใช้ยา และประวัติการรักษาโรคอื่น ๆ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษาคือการเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกในสมองหรือลำไส้ ซึ่งวิธีการรักษาทั่วไปที่นำมาใช้มีดังนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยซื้อยามารับประทานเอง เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ แพทย์อาจให้หยุดใช้ยานั้น เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติของเกล็ดเลือด และอาจสั่งจ่ายยาที่ใช้ในการรักษา ITP ดังนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือใช้ยารักษาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจใช้วิธีรักษา ดังต่อไปนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วย ITP อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ และมีอาการเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกขณะคลอดหรือหลังคลอดได้ แพทย์จะแนะนำวิธีดูแลตนเองอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วย และเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการครรภ์เป็นพิษร่วมด้วย โดยทั่วไปบุตรที่เกิดมามักมีจำนวนเกล็ดเลือดปกติ หากตรวจพบว่าทารกที่มีเกล็ดเลือดต่ำ แพทย์จะรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมอง แม้จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่ก็เป็นภาวะร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือในหญิงตั้งครรภ์ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ อาจพบภาวะตกเลือดขณะคลอดหรือหลังคลอดบุตรได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมักได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานยาหรือการผ่าตัดมากกว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค ITP โดยตรง เช่น การรับประทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โรคเบาหวาน ต้อกระจก (Cataracts) หรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ หรือบางรายที่ได้รับการผ่าตัดม้ามอาจติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น หากผู้ป่วยมีไข้หรือพบอาการอื่น ๆ ที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อหลังผ่าตัดม้าม ควรไปพบแพทย์ทันที ITP ที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ความหมาย โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน (Immune thrombocytopenia: ITP)
อาการของ ITP
ITP ชนิดเฉียบพลัน
ITP ชนิดเรื้อรัง
สาเหตุของ ITP
สาเหตุปฐมภูมิ
สาเหตุทุติยภูมิ
การวินิจฉัย ITP
การรักษา ITP
การใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
ภาวะแทรกซ้อนของ ITP
การป้องกัน ITP