Illness name: คอเลสเตอรอลสูง
Description: คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) คือภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากคอเลสเตอรอลบางส่วนมีความสำคัญกับร่างกาย ทำได้เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหาร รวมถึงการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ และสามารถพบได้ในอาหาร เป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์ในร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องการคอเลสเตอรอลในการช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างเป็นปกติ หากระดับคอเลสเตอรอลมีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะไปเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ อาการคอเลสเตอรอลสูง โดยปกติแล้วจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่ในกรณีที่ระดับคอเลสเตอรอลสูงมาก ๆ ก็อาจทำให้เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวจะสามารถระบุได้ก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจเลือดวินิจฉัย สาเหตุของคอเลสเตอรอลสูง เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่รับประทาน หรือแม้แต่โรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลโดยตรง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิด ๆ ก่อให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ โดยพฤติกรรมที่กระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นคือ ปัญหาสุขภาพ - เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง โดยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีคอเลสเตอรอลสูงได้ง่าย เช่น การรักษาจะต้องทำควบคู่กับการควบคุมโรคเหล่านี้ด้วยเพื่อให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น คอเลสเตอรอลสูงยังสามารถเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ได้ โดยจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia) ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงตั้งแต่กำเนิดที่จะนำไปสู่โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงแข็งและโรคหลอดเลือดหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไป ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่ หากมีปัจจัยเสี่ยงคงที่เหล่านี้แล้ว ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่อาจเกิดขึ้นก่อนวัยอันควร การวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูง ในปัจจุบัน สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น โดยการตรวจจะถูกรวมอยู่ในการตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ซึ่งจะแสดงให้เห็นระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี คอเลสเตอรอลที่ดี และไตรกลีเซอไรด์ได้ในคราวเดียว โดยผู้ที่ควรได้รับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้แก่ ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด จะต้องอดอาหารอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารที่กินเข้าไปได้หมด และระดับไขมันในอาหารจะไม่ส่งผลกระทบต่อการตรวจ หลังจากนั้น แพทย์จะเจาะเลือดและนำผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเกณฑ์วัดระดับคอเลสเตอรอลโดยคร่าวระบุไว้ดังนี้ ระดับคอเลสเตอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholerterol) ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL Cholesterol) ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อย่างไรก็ตาม เกณฑ์นี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงหรือไม่ เพราะอาจต้องประเมินระดับไขมันเป็นรายบุคคลเพื่อดูความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มด้วย จากนั้นแพทย์จึงจะสามารถทำการรักษาต่อไปได้ ในการสรุปผลการตรวจ จะดูที่ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีเป็นหลัก หากมีระดับที่สูงแปลว่าผู้ป่วยมีคอเลสเตอรอลสูง ขณะที่ระดับคอเลสเตอรอลรวม หากมีอยู่ในระดับสูงก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงหรือไม่ แต่อาจระบุได้ว่ามีความผิดปกติ จะต้องดูที่ระดับคอเลสเตอรอล LDL ร่วมด้วย ส่วนระดับคอเลสเตอรอลที่ดี หากมีเยอะก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพเพราะจะกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีให้ลดลงได้ การรักษาคอเลสเตอรอลสูง การรักษาเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีผลวินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่าผู้ป่วยมีระดับคอเลสเตอรอลสูง โดยการรักษาอาจใช้เพียงการดูแลเรื่องอาหารให้ดีขึ้นหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่บางรายอาจต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่กันไปด้วยเพื่อช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลค่อย ๆ ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดูแลตัวเองในเบื้องต้นทำได้ดังนี้ การใช้ยา การรักษาคอเลสเตอรอลสูงด้วยยาจะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีเงื่อนไขสุขภาพ อายุ ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือความแข็งแรงของผู้ป่วยในขณะนั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยยาที่แพทย์ในประเทศไทยมักสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้แก่ ในการใช้ยาเหล่านี้ แพทย์จะต้องทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ตามนัดและเอาใจใส่เรื่องการเลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้นและออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะแทรกซ้อนของคอเลสเตอรอลสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูงอาจไม่ส่งผลให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน แต่จะค่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือผู้ป่วยไม่ดูแลและควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยโรคที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการที่คอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น และทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงจนกลายเป็นสาเหตุของอาการต่อไปนี้ นอกจากจะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว ก็ยังอาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง ที่เป็นอันตรายไม่แพ้กัน และสามารถส่งผลกับไตจนเกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ เพราะเมื่อหลอดเลือดในร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงไตตีบลงเนื่องจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะทำให้ไตสูญเสียการทำงานและวายในที่สุด การป้องกันคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลสูงสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางอย่าง อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ นอกจากนี้การเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคอเลสเตรอลสูง รวมถึงโรคเกี่ยวหัวใจและหลอดเลือดลดลงได้อีกด้วย การเข้ารับการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำจะช่วยให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงของคอเลสเตอรอลสูงได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ความหมาย คอเลสเตอรอลสูง