Illness name: เชื้อราในช่องคลอด
Description: โรคเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง อาการของโรคเชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอดส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่บางคนอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แม้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้ได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงเป็นสัปดาห์ หรืออาจนานเป็นเดือนในบางราย แต่พบได้ค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าบางรายอาจมีอาการของโรคกลับเป็นซ้ำในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจเป็นมากขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ควรรีบพบแพทย์หากเป็นการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นครั้งแรก อาการที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้นหลังใช้ยารักษา หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย นอกจากนี้ อาการอาจรุนแรงมากขึ้นหากไม่รีบรักษา ซึ่งสังเกตได้จากบริเวณที่เกิดการติดเชื้อมีอาการบวม แดง และคันอย่างรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดรอยแตกเป็นแผล มีอาการเจ็บหรือปวด ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดบ่อยมากกว่าปกติ หรือมากกว่า 4 ครั้งต่อปี สาเหตุของโรคเชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อรามากกว่าปกติภายในช่องคลอดจนทำให้สภาพภายในช่องคลอดเสียสมดุล โดยปกติเชื้อราเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามช่องปาก อวัยวะเพศ ระบบทางเดินอาหาร หรือบนผิวหนังของคนเราในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อเชื้อราเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้นจึงพัฒนาให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ เชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออาจเกิดได้จากหลายสายพันธ์ุ แต่สายพันธ์ุที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในช่องคลอดได้มากที่สุดมีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่ม แคนดิดา (Candida) ส่วนเชื้อราสายพันธุ์อื่นที่พบได้ไม่บ่อยอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้มากขึ้น และต้องอาศัยการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น การเพิ่มจำนวนเชื้อราอย่างรวดเร็วมาจากหลายสาเหตุดังนี้ การเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นปัญหาที่พบมากในผู้หญิง โดยผู้หญิงทุก 3 ใน 4 คนเคยเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต นอกจากนี้ การติดเชื้อราในช่องคลอดอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนการมีประจำเดือน หรือบางรายอาจเกิดขึ้นหลังการมีเพศสัมพันธ์ แต่ตัวโรคยังไม่จัดว่าเป็นโรคติดติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อไปสู่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย รวมไปถึงผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็อาจมีโอกาสในการพัฒนาโรคให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอดได้ตามขั้นตอนดังนี้ การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอดสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อรา (Antifungal Drug) เป็นหลัก โดยรูปแบบของยาอาจจะมีทั้งแบบครีม ขี้ผึ้ง ยาเหน็บ หรือยารับประทาน เช่น ยาคลอไตรมาโซล (Clotrimazole) ยาไมโคโนโซล (Miconazole) ยาไทโอโคนาโซล (Tioconazole) ยาบูโตโคนาโซล (Butoconazole) ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) หรือยากรดบอริก (Boric acid) ซึ่งการเลือกใช้ยาควรต้องมีการพิจารณาระดับความรุนแรงของโรคและประเภทของเชื้อราที่ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นด้วย ส่วนระยะเวลาในการใช้ยาจะแตกต่างกันไปตามความแรงของยาและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงสามารถซื้อยาต้านเชื้อราที่ขายทั่วไป ควบคู่กับการดูแลตนเองได้จากที่บ้านโดย ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการซื้อยามาใช้เองควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนการใช้ยาควรศึกษาวิธีอย่างละเอียดและควรใช้ยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องจนครบปริมาณที่แนะนำ ไม่ควรหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันแม้ว่ามีอาการดีขึ้น รวมไปถึงควรระมัดระวังการใช้ยาบางประเภทที่ยังไม่ได้รับการยืนยันทางการแพทย์อย่างชัดเจนว่ามีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อรา เช่น การทาน้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil) บริเวณช่องคลอด หรือการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากกระเทียม เนื่องจากอาจส่งผลให้อาการติดเชื้อแย่ลงได้ แต่ในกรณีที่อาการมีความรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เป็นอาการติดเชื้อครั้งแรก เกิดอาการแพ้ อาการของโรคไม่ดีขึ้น หรือมีความกังวลว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจยืนยันผล และรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งอาจต้องมีการใช้ยารักษาในปริมาณที่สูงขึ้นและรักษานานต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยป้องกันการกลับมาของโรค อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งภายในระยะเวลา 2 เดือนหลังอาการหายขาดอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกจากโรคอื่นได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราภายในช่องคลอดค่อนข้างพบภาวะแทรกซ้อนได้น้อย โดยทั่วไปมักเกิดการถลอกของผิวหนังจนอาจเป็นแผล เนื่องจากอาการคันและเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ ที่ผิวหนังได้โดยง่าย ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นใหม่อีกครั้งหลังการรักษา หรือไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาด เนื่องจากตัวยาไม่ตอบสนองต่อโรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมา การป้องกันโรคเชื้อราในช่องคลอด การติดเชื้อราในช่องคลอดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในบางกรณีบอกได้ยากว่าเกิดมาจากสาเหตุใด เพราะแต่ละบุคคลก็มีปัจจัยความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป การป้องกันโรคจึงเป็นการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดของโรคตามคำแนะนำต่อไปนี้ ความหมาย เชื้อราในช่องคลอด