Illness name: กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไว
Description: กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder: OAB) เป็นภาวะที่ส่งผลให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างกะทันหัน บางคนอาจมีปัสสาวะเล็ดหรือราดร่วมด้วย ซึ่งอาการจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตและก่อให้เกิดความเครียดให้แก่ผู้ป่วยได้ สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินยังบอกไม่ได้อย่างแน่ชัด โดยอาจเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น อาการป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือการรับประทานยาบางชนิด ซึ่งแพทย์สามารถวินิจฉัยและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าวและส่งผลให้เกิดความเครียดหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะหดตัวอย่างกะทันหันแม้มีปัสสาวะในปริมาณน้อย ในปัจจุบันยังระบุสาเหตุของภาวะนี้ไม่ได้แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เช่น การตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตรอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกรานยืดขยายออกและอ่อนแรง กระเพาะปัสสาวะจึงหย่อนตัวลงจากตำแหน่งเดิมและเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดรั่ว การทำงานระหว่างสมองและกระเพาะปัสสาวะเกิดความผิดพลาด เนื่องจากเส้นประสาทได้รับความเสียหายจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือหลัง เคยเข้ารับการฉายรังสี ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน มีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นต้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนจะขัดขวางการทำงานของสมอง ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะล้น อีกทั้งยาขับปัสสาวะและเครื่องดื่มคาเฟอีนจะทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็มเร็วและเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้ การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะอาจส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ ร่างกายของผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีการกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดภาวะปัสสาวะราด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายอาจส่งผลต่อความต้องการที่จะปัสสาวะอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มเสี่ยงให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต มีก้อนเนื้อหรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ท้องผูก ไม่สามารถเดินได้ปกติ มีภาวะปัสสาวะค้างหรือปัสสาวะไม่สุด และอายุมากซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) แพทย์จะวินิจฉัยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้จากประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกายบริเวณทวารหนักหรืออุ้งเชิงกราน การตรวจตัวอย่างปัสสาวะ การตรวจทางระบบประสาทเพื่อตรวจหาการตอบสนองทางร่างกาย รวมถึงการตรวจทางยูโรไดนามิก (Urodynamic Tests) เพื่อตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น แพทย์จะรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินโดยใช้หลายวิธีร่วมกันดังนี้ 1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ อาทิ ใช้สายสวนเป็นครั้งคราว (Intermittent Catheterization) หากไม่สามารถขับปัสสาวะออกจากร่างกายได้หมด ดื่มเครื่องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม จดบันทึกการดื่มเครื่องดื่มใสแต่ละวัน จำนวนครั้งของการเข้าห้องน้ำ จำนวนครั้งของการปัสสาวะโดยไม่ตั้งใจและรายละเอียดอาการช่วงที่เกิดเหตุดังกล่าว อย่างอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หัวเราะหรือไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ทัน ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในวัยหลังหมดประจำเดือนอาจรักษาด้วยการบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในรูปแบบของยาทา ยารับประทาน ยาเหน็บหรือวงแหวน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณท่อปัสสาวะและช่องคลอด แพทย์อาจใช้ยาเพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัวและลดการเกิดอาการปัสสาวะเล็ด เช่น ยากลุ่ม Antimuscarinic Drugs หรือยากลุ่ม Beta-3 Agonist เป็นต้น และผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยอาจมีอาการปากแห้ง ตาแห้งหรือท้องผูก ซึ่งเป็นอาการที่อาจกระตุ้นให้อาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินรุนแรงขึ้นได้ แต่แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานน้ำในประมาณน้อย อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อลดอาการปากแห้ง ใช้ยาหยอดตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หรือแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก แพทย์จะฉีดสารโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum Toxin) หรือที่เรียกว่า โบทอกซ์ (Botox) ในปริมาณน้อยเข้าสู่เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะโดยตรงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยภาวะปัสสาวะเล็ดอย่างรุนแรง ผู้ป่วยดื้อยา ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาก่อนหน้านี้ หรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงจากการใช้ยารูปแบบรับประทาน การฉีดโบทูลินัมท็อกซินจะมีประสิทธิภาพในการรักษาเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน และผู้ป่วยจะต้องฉีดซ้ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดโบทอกซ์ ได้แก่ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และเกิดภาวะปัสสาวะไม่ออก ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นจะต้องสวนปัสสาวะออกด้วยตนเอง แพทย์จะฝังเครื่องมือขนาดเล็กไว้บริเวณกระดูกก้นกบและเครื่องจะส่งสัญญาณไปยังเส้นลวดที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาทกระเบนเหน็บ (Sacral Nerves) เพื่อควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ โดยอาจเป็นการทดลองที่ใช้ระยะเวลานานเพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือ หากเครื่องมือสามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้ แพทย์จะผ่าตัดและติดตั้งเครื่องมือแบบถาวรลงไปแทนเพื่อช่วยควบคุมเส้นประสาท แพทย์จะใช้เข็มทิ่มไปยังบริเวณข้อเท้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณขาไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการกระตุ้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และอาจต้องกระตุ้นทุก ๆ 3–4 สัปดาห์ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงและอาการที่เกิดขึ้นไม่ตอบสนองต่อการรักษารูปแบบอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจเข้ารับการผ่าตัด แม้ว่าการผ่าตัดจะไม่สามารถรักษาอาการเจ็บขณะปัสสาวะ แต่จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยสามารถกักเก็บปัสสาวะและลดแรงดันภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ซึ่งการผ่าตัดสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ป่วยควรพูดคุยและทำความเข้าใจต่อครอบครัวหรือเพื่อนถึงอาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เพื่อช่วยลดความรู้สึกกังวลใจหรือความเครียดที่เกิดขึ้น อาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดความเครียด มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาด้านการนอนหลับหรือหลับ ๆ ตื่น ๆ มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผิวเกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจหกล้มหรือกระดูกหักโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยเพศหญิงบางรายอาจมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ทั้งแบบมีปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จามหรือเบ่ง ร่วมกับอาการปัสสาวะราดเมื่อต้องการปัสสาวะอย่างเร่งรีบหรือต้องการเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน อีกทั้งยังอาจพบอาการปวดปัสสาวะร่วมกับอาการเดิมของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินที่กำลังตั้งครรภ์และวางแผนคลอดด้วยวิธีธรรมชาติควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นบริเวณกระเพาะปัสสาวะและความเสี่ยงต่อปากมดลูกความหมาย กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
อาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง
เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
การใช้ยา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
การติดเชื้อ
น้ำหนักเกิน
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน
การวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
การรักษากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
2. การใช้ยา
3. การฉีดสารเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (Bladder Injections)
4. การกระตุ้นเส้นประสาท
5. การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาท Tibial
6. การผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
การป้องกันกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน