Illness name: Bradycardia
Description: Bradycardia (หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ) คือ ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าการเต้นของหัวใจในอัตราปกติ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใหญ่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอยู่ที่นาทีละ 60-100 ครั้ง ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าประสบภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจเต้นช้าจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสบภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติบางรายอาจไม่เกิดอาการหรือภาวะแทกซ้อนใด ๆ เช่น นักกีฬาหรือผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอมักมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าปกติ เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้สูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจจึงต้องบีบตัวช้าลงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย ผู้ที่ประสบภาวะ Bradycardia หรืออัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการป่วยต่าง ๆ ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ปรากฏอาการของภาวะ Bradycardia หรือปรากฏอาการเพียงเล็กน้อย นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมักมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ ซึ่งไม่นับเป็นปัญหาสุขภาพ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังหรือฝึกร่างกายอย่างนักกีฬาแต่ประสบภาวะดังกล่าว รวมทั้งมีอาการเป็นลม หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอกนานหลายนาที ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอาการดังกล่าวทันที โดยทั่วไปแล้ว หัวใจมีอยู่ 4 ห้อง แบ่งเป็น หัวใจสองห้องบนหรือ Atria และหัวใจสองห้องล่างหรือ Ventricles ตัวกำหนดจังหวะหรือ Sinus Node ซึ่งอยู่หัวใจห้องบนขวา ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ โดยจะผลิตกระแสไฟฟ้าที่ช่วยให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจ กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านหัวใจห้องบน เพื่อให้บีบตัวและลำเลียงเลือดไปหัวใจห้องล่าง โดยต้องผ่านกลุ่มเซลล์ AV Node ซึ่งถ่ายทอดสัญญาณไฟฟ้าไปยังกลุ่มเซลล์ของหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวและลำเลียงเลือดที่บริเวณดังกล่าว หัวใจห้องล่างขวาจะลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนน้อยไปที่ปอด ส่วนหัวใจห้องล่างซ้ายจะลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หาก Sinus Node ปล่อยกระแสไฟฟ้าช้ากว่าปกติ หยุดปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ หรือปล่อยกระแสไฟฟ้าแล้วไม่สามารถไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวได้ จะส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง ภาวะ Bradycardia เกิดจากการกระแสไฟฟ้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเกิดความผิดปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้กระแสไฟฟ้าดังกล่าวผิดปกติ มีดังนี้ นอกจากนี้ อายุและพฤติกรรมบางอย่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอันก่อให้เกิดอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้สูงอายุเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพหัวใจที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติได้มาก ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ใช้สารเสพติดต่าง ๆ เกิดโรคเครียดหรืออาการวิตกกังวล เสี่ยงเกิดภาวะ Bradycardia ได้สูง เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับภาวะนี้ด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพด้วยวิธีทางการแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้ ผู้ป่วยที่ประสบภาวะ Bradycardia ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เบื้องต้นแพทย์จะถามอาการของผู้ป่วย ซักประวัติการรักษาและประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว รวมทั้งตรวจร่างกายผู้ป่วย นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องขอตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อวัดอัตราการเต้นหัวใจ วิเคราะห์อาการที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว การตรวจสำหรับวินิจฉัยภาวะ Bradycardia ประกอบด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่น ๆ ในห้องทดลอง ดังนี้ ผู้ที่ประสบภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติบางรายไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ยกเว้นผู้ที่มีอาการมานานหรือเป็นซ้ำ ๆ ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของอาการและสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ซึ่งวิธีรักษาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การรักษาสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นช้า การปรับเปลี่ยนยา และการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ดังนี้ ผู้ป่วยที่ประสบภาวะ Bradycardia แล้วไม่เข้ารับการรักษา เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดปัญหาการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและชนิดของเนื้อเยื่อหัวใจที่ถูกทำลาย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยได้ ดังนี้ ภาวะ Bradycardia เป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ โดยต้องลดปัจจัยเสี่ยงอันนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีวิธีลดปัจจัยเสี่ยงของโรค ดังนี้ ส่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะ Bradycardia หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่นได้ โดยปฏิบัติตามแผนการรักษาและรับประทานยาตามแพทย์สั่งจ่ายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในกรณีที่อาการป่วยแย่ลงหรือเกิดอาการป่วยอื่น ๆ ขึ้นมาใหม่ความหมาย หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)
อาการของหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
สาเหตุของหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
การวินิจฉัยหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
การรักษาหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
ภาวะแทรกซ้อนจากหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
การป้องกันหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ