Illness name: หายใจไม่ออก
Description: หายใจไม่ออก (Breathing Difficulty) เป็นอาการบ่งบอกว่าร่ายกายไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ อาจเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น โรคประจำตัว หรือการรับประทานยารักษาโรค เป็นต้น ผู้ที่มีอาการหายใจไม่ออกจะหายใจเร็วขึ้นกว่าเดิมเพื่อเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในปอด เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และบางครั้งอาจรู้สึกแน่นหน้าอกร่วมด้วย อาการหายใจไม่ออกเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากอาการรุนแรงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ อาการหายใจไม่ออก อาการหายใจไม่ออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของความเจ็บป่วย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเสมอไป แต่ต้องคอยสังเกตอาการจากรูปแบบการหายใจที่อาจมีลักษณะของการหายใจลำบากหรือหายใจเร็วผิดปกติ รวมถึงอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้ หากพบว่ามีอาการหายใจเร็ว มีไข้ ไอ เหนื่อยหอบและมีเสียงหวีดเกิดขึ้นขณะหายใจออก อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคปอดบวม ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรงและถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันเวลาอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อที่ปอด และถ้ามีอาการหายใจไม่ออก มีเสียงหวีดหรือมีอาการเหนื่อยหอบอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหอบหืด หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังคงมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ตัวเขียว เล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง เดินหรือพูดไม่ได้ หรือหน้าอกบุ๋มควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน สาเหตุของอาการหายใจไม่ออก อาการหายใจไม่ออกอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ หายใจไม่ออกระยะสั้นหรือแบบฉับพลัน และหายใจไม่ออกระยะยาวหรือแบบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ สาเหตุของอาการหายใจไม่ออกระยะสั้นหรือแบบฉับพลัน สาเหตุของอาการหายใจไม่ออกระยะยาวหรือแบบเรื้อรัง การวินิจฉัยอาการหายใจไม่ออก แพทย์อาจวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออกโดยถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ นอกจากนี้ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจหัวใจ การตรวจความดันโลหิต การตรวจความดันในปอด การทดสอบการทำงานของปอด การวัดสมรรถภาพปอดโดยใช้ Peak Flow Meter การเอกซเรย์หน้าอก การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น การรักษาอาการหายใจไม่ออก การรักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาหอบหืด ยารักษาโรคหัวใจ ยารักษาความดันโลหิต หรืออาจใช้ยาขยายหลอดลมในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจมีเสียงหวีด อีกทั้งหากพบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอาการหายใจไม่ออก ผู้ป่วยอาจต้องเลิกสูบบุหรี่ หรือหากมีสาเหตุมาจากโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวที่มาเกินไป ผู้ป่วยอาจต้องลดน้ำหนักเพื่อทำให้อาการหายใจไม่ออกนั้นดีขึ้น การป้องกันอาการหายใจไม่ออก อาการหายใจไม่ออกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคประจำตัว ยารักษาโรค หรือวิถีชีวิตประจำวัน ดังนั้น การป้องกันอาจทำได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยหรือจัดการกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เช่นความหมาย หายใจไม่ออก