Illness name: มะเร็งปากช่องคลอด vulvar cancer
Description: มะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณปากช่องคลอด เช่น ปากช่องคลอด แคมนอก แคมใน คลิตอริส เนินหัวหน่าว หรือบริเวณฝีเย็บ แต่บริเวณที่พบมะเร็งบ่อยที่สุดจะเป็นแคมนอกและแคมใน มะเร็งปากช่องคลอดแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามชนิดของเซลล์ที่เกิดมะเร็ง โดยชนิดที่พบได้บ่อยมักจะเป็นชนิดสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous Cell Carcinoma) ที่มะเร็งเกิดกับเซลล์ผิวหนังชนิดสะแควมัส (Squamous Cells) และชนิดเมลาโนมา (Melanoma) ที่มะเร็งเกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง ซึ่งชนิดของมะเร็งที่ต่างกันจะส่งผลต่อลักษณะอาการและการรักษาแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปากช่องคลอดในช่วงแรกมักไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ทางร่างกาย แต่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง โดยอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง แต่อาการส่วนใหญ่ที่อาจพบได้ เช่น ทั้งนี้ หากรู้สึกเจ็บบริเวณอวัยวะเพศหรือสังเกตพบอาการในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งเมื่อตรวจเจอมะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการที่เซลล์แบ่งตัวมากผิดปกติจนลุกลามไปยังอวัยวะบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ในกรณีมะเร็งปากช่องคลอด การแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติจะเกิดขึ้นบริเวณปากช่องคลอด โดยส่วนมากแพทย์มักตรวจพบมะเร็งที่บริเวณแคมนอกและแคมในบ่อยที่สุด ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งปากช่องคลอด แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยบางอย่าง ได้แก่ อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งชนิดเมลาโนมา สูบบุหรี่ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอจากบางสาเหตุ เช่น การใช้ยา การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือโรคเอดส์ รวมไปถึงผู้ป่วยมีประวัติเป็นมะเร็งชนิดเมลาโนมา มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด ติดเชื้อเอชพีวี (HPV) มีไฝขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เคยตรวจพบเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูก (Pap Test) หรือป่วยเป็นโรคผิวหนังบางชนิดบริเวณปากช่องคลอด อย่างโรค Lichen Sclerosus หรือโรค Vulvar Intraepithelial Neoplasia แพทย์จะสอบถามประวัติและอาการผิดปกติต่าง ๆ ของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจภายใน (Pelvic Exam) โดยแพทย์จะตรวจบริเวณอวัยวะเพศของผู้ป่วยเพื่อหาสัญญาณของโรค หรือการใช้กล้องคอลโปสโคป (Colposcope) เพื่อตรวจบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอดของผู้ป่วย รวมไปถึงการตัดชิ้นเนื้อบริเวณปากช่องคลอดบางส่วนไปตรวจ หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากช่องคลอด แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์ (X–Ray) ซีทีสแกน (CT Scan) เอ็มอาร์ไอสแกน (MRI Scan) หรือเพทสแกน (PET Scan) เพื่อตรวจดูความรุนแรงหรือการลุกลามของมะเร็ง วิธีการรักษามะเร็งปากช่องคลอดจะขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง ความรุนแรง การลุกลามของมะเร็ง และความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคน โดยการรักษาที่แพทย์อาจใช้ เช่น ทั้งนี้ ผู้ป่วยมะเร็งปากช่องคลอดอาจมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำในภายหลังการรักษา แพทย์จึงอาจนัดตรวจผู้ป่วยเพิ่มเติม เพื่อติดตามอาการและผลการรักษาเป็นระยะ ๆ ผู้ป่วยมะเร็งปากช่องคลอดส่วนมากมักไม่พบภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ยกเว้นกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาหรือมะเร็งมีการลุกลาม ผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ภาวะบวมน้ำเหลือง เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังบริเวณกระดูก และท่อปัสสาวะอุดตัน เป็นต้น มะเร็งปากช่องคลอดอาจป้องกันได้ยากเนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในเบื้องต้นสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV Vaccine) ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เข้ารับการตรวจร่างกายหรือการตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งความหมาย มะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar Cancer)
อาการของมะเร็งปากช่องคลอด
สาเหตุของมะเร็งปากช่องคลอด
การวินิจฉัยมะเร็งปากช่องคลอด
การรักษามะเร็งปากช่องคลอด
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งปากช่องคลอด
การป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด