Illness name: น้ำท่วมปอด pulmonary edema
Description: น้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema) หรือปอดบวมน้ำ เป็นภาวะที่เกิดจากการมีของเหลวในถุงลมปอดมากผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหายใจไม่อิ่มเนื่องจากขาดออกซิเจน โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หัวใจผิดปกติ ปอดบวมติดเชื้อ สัมผัสกับสารพิษหรือการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น ส่วนการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งหากเกิดภาวะน้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาการของน้ำท่วมปอด น้ำท่วมปอดมีอยู่หลายชนิด โดยอาการจะแตกต่างกันไป ดังนี้ อาการของน้ำท่วมปอดชนิดเรื้อรัง อาการของน้ำท่วมปอดชนิดเฉียบพลัน ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการน้ำท่วมปอดระยะเฉียบพลัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ อาการของน้ำท่วมปอดจากการขึ้นที่สูง ทั้งนี้ หากขึ้นที่สูงแล้วทำให้เกิดอาการอย่างเจ็บหน้าอก มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไอมีเสมหะปนเลือด หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ หายใจไม่อิ่ม มีปัญหาเมื่อเดินขึ้นที่สูงและเกิดความผิดปกติเมื่อกลับมาเดินในที่ราบ ควรรีบไปพบแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และควรไปพบแพทย์หากพบอาการดังต่อไปนี้ สาเหตุของน้ำท่วมปอด โดยทั่วไปน้ำท่วมปอดจะมีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดเลือดที่มาจากปอดไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ตามปกติ ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นและย้อนกลับไปที่ปอด นอกจากนั้น ภาวะหลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจผิดปกติ และความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานบกพร่องได้ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ได้แก่ การวินิจฉัยน้ำท่วมปอด เนื่องจากภาวะน้ำท่วมปอดมักต้องรักษาอย่างทันท่วงที การวินิจฉัยเบื้องต้นจึงเป็นการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นและตรวจร่างกาย เมื่ออาการทรงตัว แพทย์จะถามถึงประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมถึงอาจทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย เช่น การรักษาน้ำท่วมปอด การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ในเบื้องต้นหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจและมีระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ แพทย์อาจให้ออกซิเจนโดยให้ผู้ป่วยใช้หน้ากากออกซิเจนหรือสอดท่อออกซิเจนเข้าไปในรูจมูก ซึ่งแพทย์จะเฝ้าดูอาการและรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และหากน้ำท่วมปอดจากสาเหตุอื่น ๆ แพทย์ก็จะรักษาภาวะดังกล่าวและรักษาน้ำท่วมปอดไปพร้อมกัน ส่วนยาที่ใช้รักษาภาวะน้ำท่วมปอด มีดังนี้ นอกจากนี้ หากน้ำท่วมปอดเกิดจากการอยู่บนที่สูง กรณีที่ผู้ป่วยปีนป่ายหรือไปท่องเที่ยวบนที่สูง ด้วยความสูงประมาณ 600-900 เมตร ก็อาจทำให้เกิดอาการได้ โดยควรรักษาและบรรเทาอาการ ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนของน้ำท่วมปอด ภาวะแทรกซ้อนของน้ำท่วมปอดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งส่วนใหญ่หากอาการไม่รุนแรงและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะสามารถฟื้นฟูร่างกายได้เป็นปกติ แต่หากอาการป่วยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เกิดความดันหลอดเลือดปอดสูง อาจทำให้หัวใจห้องล่างอ่อนแอลงและทำงานล้มเหลวได้ในที่สุด เพราะผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาจะบางกว่าห้องซ้าย และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาได้ เช่น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือได้รับการรักษาช้าอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยบางรายที่เป็นน้ำท่วมปอดระยะเฉียบพลันก็อาจถึงแก่ชีวิตได้แม้ได้รับการรักษาแล้วก็ตาม เนื่องจากน้ำท่วมปอดเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ อย่างไรก็ตาม การป้องกันในเบื้องต้นที่พอจะช่วยได้สามารถทำได้โดยรับวัคซีนป้องกันปอดบวม หรือวัคซีนป้องกันไข้หวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีหัวใจผิดปกติหรือผู้สูงอายุ ซึ่งหลังจากเกิดอาการ ผู้ป่วยควรใช้ยาขับปัสสาวะตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ นอกจากนั้น สามารถลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมปอดที่พบได้บ่อย ด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้ความหมาย น้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema)
การป้องกันน้ำท่วมปอด