Illness name: anaphylaxis
Description: Anaphylaxis (แอแนฟิแล็กซิส) คือปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันเมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น อาหารหรือยาบางชนิด แมลงกัดต่อย หรือสารอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของบุคคลนั้นไวต่อสารกระตุ้นดังกล่าวมากกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะช็อกและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ Anaphylaxis เป็นอาการแพ้ในระดับรุนแรงที่สุดและเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการที่เกิดขึ้นได้ มีดังนี้ อาการข้างต้นมักเกิดขึ้นพร้อมกันและกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ภายในไม่กี่นาที แต่บางครั้งอาจนานเป็นชั่วโมง หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis ควรพาไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน แม้กระทั่งในรายที่แพทย์สั่งให้พกยาอิพิเนฟริน (Epinephrine)สำหรับฉีดลดอาการแพ้ และมีอาการดีขึ้นหลังฉีดยาแล้วก็ตาม โดยทั่วไปร่างกายมีกลไกป้องกันสิ่งแปลกปลอมด้วยการสร้างสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี เพื่อช่วยกำจัดสารต่าง ๆ ที่คาดว่าเป็นอันตราย จากนั้นเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะตอบสนองด้วยการหลั่งสารฮิสตามีนและสารเคมีตัวอื่น ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรืออาการแพ้ตามมา แต่ระบบภูมิคุ้มกันของบางคนนั้นไวต่อสารเหล่านี้มากกว่าคนอื่น จึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงแบบ Anaphylaxis นั่นเอง อย่างไรก็ตาม สภาพร่างกายของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ทำให้มีอาการแพ้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันไปด้วย สิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis ที่พบได้ มีดังนี้ ปฏิกิริยาการแพ้แบบ Anaphylaxis ในเด็กมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหารเป็นหลัก ส่วนในผู้ใหญ่มักเกิดจากการแพ้ยาและสาเหตุอื่น ๆ ต่างกันออกไป และมีบางรายที่แพทย์อาจตรวจไม่พบสาเหตุ ทั้งนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจเสี่ยงเกิดปฏิกิริยาแพ้ชนิดนี้ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้คนในครอบครัวหรือตนเองเคยมีปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis ผู้ป่วยโรคหืดหอบ หรือโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว แพทย์จะต้องวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis โดยเร็ว เพราะการรักษาที่ล่าช้าอาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อกและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยในเบื้องต้นจะซักประวัติและตรวจดูอาการผิดปกติ แพทย์อาจสอบถามถึงรายละเอียดก่อนเกิดอาการแพ้ เช่น การสัมผัสสารที่อาจก่อการแพ้หรืออาหารที่กิน ความรุนแรงของอาการแพ้ ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงประวัติการแพ้ยา อาหาร และสารอื่น ๆ เพื่อประเมินสาเหตุของอาการแพ้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยจะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยในขณะที่เกิดปฏิกิริยาแพ้เป็นหลัก แต่เพื่อยืนยันว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากภาวะอื่นที่อาจคล้ายคลึงกัน แพทย์อาจใช้วิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น หากสงสัยว่าตนเองอาจเกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ส่วนผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้หรือมีอาการแพ้รุนแรงควรใช้ยาภายใต้คำสั่งของแพทย์และรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ ทั้งนี้ แนวทางในการรักษาหลังเกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษาโดยแพทย์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การรักษาโดยแพทย์ Anaphylaxis เป็นอาการแพ้รุนแรงที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะหลายส่วน และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา เช่น แนวทางป้องกันการเกิดปฏิกิริยาแพ้แบบ Anaphylaxis มีดังนี้ความหมาย แอแนฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)
อาการของแอแนฟิแล็กซิส
สาเหตุของแอแนฟิแล็กซิส
การวินิจฉัยแอแนฟิแล็กซิส
การรักษาแอแนฟิแล็กซิส
เมื่อเริ่มมีอาการเข้าข่ายการแพ้แบบ Anaphylaxis ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
การรักษาหลักยังคงเป็นการใช้ยาอิพิเนฟริน ร่วมกับประเมินอาการของผู้ป่วยตามหลัก ABC ส่วนวิธีรักษาอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับอาการแพ้และการตอบสนองของผู้ป่วย
ภาวะแทรกซ้อนของแอแนฟิแล็กซิส
การป้องกันแอแนฟิแล็กซิส