Illness name: พิษจากสารตะกั่ว lead poisoning
Description: พิษจากสารตะกั่ว (Lead Poisoning) หรือภาวะตะกั่วเป็นพิษ เป็นภาวะที่ร่างกายสะสมสารตะกั่วในปริมาณมากเป็นเวลานานจนกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น สมอง เส้นประสาท เลือด ไต ระบบย่อยอาหาร และสืบพันธุ์ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม พิษจากสารตะกั่วอาจทำให้เกิดอาการที่ต่างกันไป แต่มักเป็นอันตรายต่อเด็กมากกว่าช่วงวัยอื่น เนื่องจากเด็กสามารถดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันก็ยังขับสารตะกั่วออกจากร่างกายได้น้อยกว่าด้วยเช่นกัน ผู้ที่ได้รับพิษจากสารตะกั่วในปริมาณต่ำอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเกิดการสะสมสารตะกั่วในร่างกายจนมีปริมาณสูง ผู้ป่วยอาจปรากฏอาการที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัยและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ เช่น สารตะกั่วแม้ในปริมาณต่ำอาจส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยทารกอาจมีปัญหาคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยตอนแรกเกิด หรือเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ส่วนเด็กโตอาจพบอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขมในปาก และท้องผูก นอกจากนี้ เด็กอาจเผชิญภาวะปัญญาอ่อนหรือการบกพร่องทางสติปัญญา ทำให้มีปัญหาด้านพฤติกรรม มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ไอคิวต่ำ หรือมีปัญหาในการฟัง ผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ชาหรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือเท้า โลหิตจาง มีปัญหาด้านความจำ ไม่มีสมาธิ อารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว ไตทำงานผิดปกติ อสุจิน้อยหรือผิดปกติ มีความต้องการทางเพศลดลง ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก สำหรับสตรีมีครรภ์ที่ได้รับพิษจากสารตะกั่วอาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ภาวะตายคลอด (Stillbirth) และคลอดก่อนกำหนด ภาวะนี้ยังอาจส่งผลให้ระบบสมอง ไต และเส้นประสาทของทารกในครรภ์ถูกทำลายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าตนเองได้รับสารตะกั่วในปริมาณมากหรือมีอาการเข้าข่ายเป็นพิษจากสารตะกั่ว ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะการสะสมของสารตะกั่วในปริมาณสูงมากอาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิต และผู้ป่วยเองก็อาจมีอาการแสดงไม่ชัดเจนมากนัก พิษจากสารตะกั่วเป็นผลมาจากการสูดดม รับประทาน สัมผัส หรือดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย โดยสารโลหะหนักชนิดนี้อาจปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมโดยรอบ อาหารและน้ำดื่ม และผ่านการทำงานบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว โดยแหล่งของสารตะกั่วที่มักพบได้ เช่น ทั้งนี้ เด็กที่ได้รับสารตะกั่วมักมีสาเหตุมาจากการสัมผัสและนำเศษสีทาบ้าน สีเคลือบของเล่นที่มีส่วนประกอบของสารตะกั่ว สิ่งของเครื่องใช้ หรืองานไม้เก่า ๆ ที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเข้าปากโดยไม่รู้ตัว แพทย์มักทดสอบหาสารตะกั่วในร่างกายจากการตรวจเลือด โดยปริมาณสารตะกั่วเพียง 5 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร (mcg/dL) ก็อาจไม่ปลอดภัย และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในเด็กได้ แพทย์จึงอาจนัดหมายให้ผู้ป่วยมาทำการทดสอบซ้ำเป็นระยะ ทั้งนี้ เด็กที่มีปริมาณสารตะกั่วประมาณ 45 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรหรือมากกว่า และผู้ใหญ่ที่มีปริมาณสารตะกั่ว 80–100 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร หรือมีปริมาณสารตะกั่ว 50 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรแต่มีอาการที่รุนแรง ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและกำจัดสารพิษโดยเร็ว นอกจากนี้ วิธีการอื่น ๆ ที่แพทย์นำมาใช้ในการทดสอบหาสารตะกั่วหรือวินิจฉัยพิษจากสารตะกั่ว เช่น การเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการเจาะเนื้อเยื่อไขกระดูก (Bone Marrow Biopsy) ในขั้นแรกผู้ป่วยอาจต้องปรับพฤติกรรมหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อหยุดหรือป้องกันสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย โดยวิธีอาจต่างกันไปขึ้นอยู่กับต้นตอของสารตะกั่วที่ผู้ป่วยได้รับ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยกำจัดสารพิษ (Chelation Therapy) ซึ่งเป็นการกำจัดสารตะกั่วและขับออกจากร่างกายด้วยยาบางชนิด เช่น ทั้งนี้ ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาที่เหมาะสมเป็นดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลทั้งหมด หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ ผู้ใหญ่ที่ได้รับสารตะกั่วแค่ปานกลางอาจไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดตามมาหากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่สำหรับเด็กอาจเกิดความบกพร่องทางสติปัญญาอย่างถาวรหรือกระทบต่อพัฒนาการของสมองได้แม้มีปริมาณสารตะกั่วในระดับต่ำ หากร่างกายมีปริมาณสารตะกั่วสูงขึ้นอาจส่งผลให้ไตและเส้นประสาทถูกทำลาย และหากสารตะกั่วมีปริมาณสูงมากอาจทำให้ชัก หมดสติ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การลดความเสี่ยงของการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทำได้โดยการปรับพฤติกรรมและระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันเสมอ เช่นความหมาย พิษจากสารตะกั่ว (Lead Poisoning)
อาการของพิษจากสารตะกั่ว
พิษจากสารตะกั่วในเด็กและทารกแรกเกิด
พิษจากสารตะกั่วในผู้ใหญ่
สาเหตุของพิษจากสารตะกั่ว
การวินิจฉัยพิษจากสารตะกั่ว
การรักษาพิษจากสารตะกั่ว
ภาวะแทรกซ้อนของพิษจากสารตะกั่ว
การป้องกันพิษจากสารตะกั่ว