Illness name: ปากนกกระจอก
Description: ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คือ ภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นตรงมุมปาก โดยจะเกิดอาการเจ็บปาก ปากแห้งและแตก เป็นแผล อาจมีรอยแดง บวม และตึงที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการของโรคนี้เพียง 2-3 วัน หรือนานกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก อาการของปากนกกระจอก ผู้ป่วยปากนกกระจอกมักเกิดอาการระคายเคือง เจ็บปากและปวดแสบปวดร้อนตรงมุมปาก ซึ่งอาจเกิดอาการดังกล่าวที่มุมปากข้างเดียวหรีอทั้ง 2 ข้างก็ได้ ทั้งนี้ บริเวณมุมปากที่เป็นอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
สาเหตุของปากนกกระจอก โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก นอกจากนี้ โรคปากนกกระจอกยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ดังนี้
ผู้ป่วยโรคปากนกกระจอกจะได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคดังกล่าว โดยแพทย์จะตรวจปากของผู้ป่วย เพื่อดูว่ามีสะเก็ด รอยแดง อาการบวม หรือตุ่มพองที่ปากหรือไม่ รวมทั้งสอบถามอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและป่วยเป็นโรคปากนกกระจอกได้ อย่างไรก็ตาม อาการอักเสบที่มุมปากอาจไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อจากโรคปากนกกระจอกเท่านั้น แต่อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเริมที่ริมฝีปาก หรือโรคไลเคนพลานัส (Lichen Planus) แพทย์จึงอาจเก็บตัวอย่างของเชื้อจากมุมปากและจมูกของผู้ป่วยและนำส่งตรวจที่ห้องทดลอง เพื่อดูว่าอาการป่วยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราชนิดใด โดยหากเป็นปากนกกระจอก ผลการตรวจตัวอย่างสารคัดหลั่งมักแสดงผลว่าผู้ป่วยติดเชื้อราแคนดิดา เชื้อสเตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือเชื้อไวรัสโรคเริม (Herpes Simplex) การรักษาปากนกกระจอก โรคปากนกกระจอกสามารถรักษาได้ โดยแพทย์จะรักษาบริเวณที่ติดเชื้อของโรค รวมทั้งดูแลบริเวณที่แห้งและแตกไม่ให้กลับมาติดเชื้ออีก ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อรักษาอาการตามประเภทของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งได้แก่ การรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา การรักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย และการดูแลรักษาอื่น ๆ ดังนี้
โรคปากนกกระจอกสามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากการดูแลตัวเองไม่ให้มีปัญหาสุขภาพที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
ความหมาย ปากนกกระจอก
ทั้งนี้ ผู้ป่วยปากนกกระจอกสามารถเกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หรือเกิดแผลติดเชื้อแบคทีเรียลามไปยังผิวหนังรอบ ๆ บริเวณที่เกิดโรคปากนกกระจอกได้
นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เสี่ยงเป็นโรคปากนกกระจอกได้สูง โดยปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคนี้ประกอบด้วย
การวินิจฉัยปากนกกระจอก
การป้องกันปากนกกระจอก