Illness name: ไฮโปไทรอยด์
Description: ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ด้านหน้าส่วนล่างของคอ ทำหน้าที่ผลิตและส่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไปในกระแสเลือด ทั้งนี้ ฮอร์โมนดังกล่าวยังส่งผลต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปยังสมอง และจากกล้ามเนื้อไปที่ผิวหนัง ฮอร์โมนไทรอยด์นั้นจะควบคุมกระบวนการใช้พลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายหรือที่เรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึม โดยกระบวนการเมตาบอลิซึมส่งผลต่ออุณหภูมิ อัตราการเต้นหัวใจ และการเผาผลาญพลังงาน หากร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กระบวนการทำงานของร่างกายช้าลง กล่าวคือ ไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 60 ปี มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดไทรอยด์มาก โดยภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อระดับความสมดุลของปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกาย อาจปรากฏอาการบ้างในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น ภาวะอ้วน อาการปวดข้อ มีบุตรยาก และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาการของไฮโปไทรอยด์ อาการของไฮโปไทรอยด์ปรากฏหลายอาการและแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่ผู้ป่วยขาดฮอร์โมนดังกล่าว ทั้งนี้ อาการบางอย่างที่ปรากฏขึ้นก็อาจแสดงออกไม่ชัดเจน คล้ายกับอาการป่วยของโรคอื่น และบางอาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย แต่โดยทั่วไปแล้ว อาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นซึ่งมักใช้เวลาเป็นปี หากกระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานช้าลงจะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย และอาการที่พบได้ไม่บ่อย ดังนี้ ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเรียกว่าภาวะมิกซีดีมาโคม่า (Myxedema Coma) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดแต่พบได้น้อย เมื่อผู้ป่วยประสบภาวะนี้แล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โดยอาการของภาวะมิกซีดีมาโคม่าประกอบด้วยความดันโลหิตต่ำ หายใจแผ่ว อุณหภูมิร่างกายลดลง ไม่ตอบสนองใด ๆ และถึงขั้นหมดสติ ในกรณีที่เกิดอาการร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ แม้ว่าไฮโปไทรอยด์ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนไปจนถึงสูงอายุ แต่ทารก เด็ก และวัยรุ่นต่างประสบภาวะขาดไทรอยด์ได้เช่นกัน ซึ่งทารก เด็ก และวัยรุ่นที่ป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์จะเกิดอาการดังนี้ หากอาการของโรคกำเริบขึ้น ทารกมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและแคระแกร็น โดยในระยะนี้ เด็กจะท้องผูก มวลกล้ามเนื้อน้อย และนอนมากเกินไป และถ้าทารกยังไม่ได้รับการรักษาต่อไปแม้จะเกิดอาการไม่รุนแรง ก็สามารถนำไปสู่อาการร้ายแรงทางร่างกายและภาวะปัญญาอ่อนได้ สาเหตุของไฮโปไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก รวมทั้งกระทบต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอ สามารถก่อให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ โดยอาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ นอกจากนี้ ไฮโปไทรอยด์ยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ นอกจากสาเหตุที่ยกมาข้างต้นจะทำให้ป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เสี่ยงทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ ดังนี้ การวินิจฉัยไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์หรือภาวะขาดไทรอยด์มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยกลางคนไปจนถึงสูงอายุ แพทย์จึงแนะนำ ให้กลุ่มคนอายุช่วงนี้อาจจะได้รับการตรวจภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในการตรวจสุขภาพประจำปีด้วย รวมไปถึงสตรีมีครรภ์ หรือคิดว่าตัวเองน่าจะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะขาดไทรอยด์สำหรับผู้ที่เกิดอาการอ่อนเพลียมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวแห้ง ท้องผูกและน้ำหนักขึ้น หรือผู้ที่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือคอพอก การวินิจฉัยไฮโปไทรอยด์มีขั้นตอน ดังนี้ การตรวจเลือด แพทย์จะตรวจเลือดผู้ป่วยเพื่อวัดระดับทีเอสเอชและฮอร์โมนไทรอยด์ ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่ามาตรฐานจัดว่าป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์บางรายอาจมีระดับทีเอสเอชสูงในขณะที่ระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจัดว่าป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์เช่นเดียวกัน โดยเรียกว่าภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแบบไม่มีอาการ (Subclinical Hypothyroidism) การตรวจฮอร์โมนทีเอสเอชและฮอร์โมนไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีวิธีวินิจฉัยอื่น ๆ ซึ่งใช้ไม่มากนัก เช่น การสแกนต่อมไทรอยด์ซึ่งอาจช่วยวินิจฉัยตำแหน่งของอาการป่วยได้ หรือการตรวจสมองผ่านเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมในกรณีที่แพทย์สันนิษฐานว่าสาเหตุของไฮโปไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อหรือไฮโปทาลามัส การรักษาไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์สามารถรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนสังเคราะห์อย่างยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) ซึ่งเป็นยาสำหรับรับประทาน เลโวไทรอกซินจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ หลังจากผู้ป่วยรับยานี้เข้าไปประมาณ 1-2 สัปดาห์จะเริ่มดีขึ้น นอกจากนี้ ยาเลโวไทรอกซินยังค่อย ๆ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นจากการป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยเลโวไทรอกซินตลอดชีวิต แต่การให้จำนวนตัวยาในการรักษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยแพทย์จะตรวจระดับฮอร์โมนทีเอสเอชของผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ แพทย์จะให้จำนวนตัวยาในระดับที่เหมาะสมเพื่อรักษาไฮโปไทรอยด์ โดยตรวจระดับฮอร์โมนทีเอสเอชหลังจากให้ยาไปแล้วสองถึงสามเดือน หากผู้ป่วยได้รับยาเลโวไทรอกซินมากเกินขนาดจะเกิดผลข้างเคียง เช่น น้ำย่อยในกระเพาะเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ ใจสั่น ตัวสั่น เป็นต้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเกิดภาวะขาดไทรอยด์รุนแรงจะได้รับยาปริมาณน้อยก่อนและค่อย ๆ เพิ่มจำนวนตัวยา ซึ่งช่วยให้หัวใจสามารถปรับระดับการทำงานให้เข้ากับกระบวนการเผาผลาญของเมตาบอลิซึมที่เพิ่มขึ้นได้ ยาเลโวไทรอกซินจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดกินยาเมื่อรู้สึกดีขึ้น เพราะอาการของโรคสามารถกลับมากำเริบได้อีก และควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยา อาหารเสริม หรืออาหารบางอย่างอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูดซึมยาเลโวไทรอกซิน ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองหรือมีเส้นใยสูง ธาตุเหล็กเสริมหรือวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก ยาคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) อลูมิเนียมไฮดรอกซิน (Aluminum Hydroxide) ซึ่งพบในยาลดกรด หรืออาหารเสริมจำพวกแคลเซี่ยม ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแบบไม่แสดงอาการ ควรปรึกษาวิธีการรักษากับแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนทีเอสเอชสูงในระดับอ่อน ๆ การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนไทรอยด์อาจไม่ได้ผลนัก รวมทั้งอาจเป็นอันตรายด้วย ภาวะแทรกซ้อนของไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์หรือภาวะขาดไทรอยด์ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา รวมทั้งผลข้างเคียงจากการได้รับการรักษา ดังปรากฏรายละเอียดต่อไปนี้ การป้องกันไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์หรือภาวะขาดไทรอยด์เป็นโรคที่ป้องกันได้ยากหากสาเหตุของโรคเกิดจากภาวะไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต อย่างไรก็ตาม การป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์ที่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้มากในประเทศไทยนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการรับธาตุไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเลือกซื้อเกลือเสริมไอโอดีนและผลิตภัณฑ์ที่เสริมแร่ธาตุไอโอดีน เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส และเกลือปรุงอาหาร เพื่อเอาไว้ประกอบอาหารสำหรับรับประทาน ทั้งนี้ ไฮโปไทรอยด์สามารถเฝ้าดูอาการของโรคและรักษาให้หายได้ทันการณ์ ผู้ป่วยบางรายที่เสี่ยงเป็นไฮโปไทรอยด์สูงแต่ไม่แสดงอาการนั้นสามารถรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าอาการของโรคอยู่ในระดับใดเพื่อรับการรักษาต่อไป สำหรับทารกที่เพิ่งเกิดมานั้นสามารถรับการตรวจด้วยวิธีเจาะเลือดที่ส้นเท้า (Heel Prick Test) ซึ่งเป็นการนำตัวอย่างเลือดของเด็กมาตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าเด็กมีความผิดปกติหรือเกิดภาวะใดที่ส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่ โดยแพทย์จะทำการตรวจเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 2 วัน หากตรวจพบว่าเด็กป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์ ก็สามารถรับการรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนสังเคราะห์ ทำให้เด็กเติบโตได้ปกติ ความหมาย ไฮโปไทรอยด์