Illness name: สาเหตุของอาการปวดหลัง

Description:

ปวดหลัง
  • ความหมาย
  • อาการปวดหลัง
  • สาเหตุของอาการปวดหลัง
  • การวินิจฉัยอาการปวดหลัง
  • การรักษาอาการปวดหลัง
  • ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหลัง
  • การป้องกันอาการปวดหลัง

สาเหตุของอาการ ปวดหลัง

Share:

สาเหตุของอาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้

สาเหตุที่เกิดจากปัญหาของกระดูกสันหลัง

สามารถเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกกล้ามเนื้อ หรือหมองรองกระดูก ตัวอย่างเช่น

  • หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated หรือ Slipped Discs) หมอนรองกระดูกคือเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลัง มักเกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด แล้วกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบริเวณสะโพก
  • หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูน (Bulging Discs) เป็นการโป่งออกของหมองรองกระดูก มาดันโดนเส้นประสาท แต่อาการจะไม่มากเท่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Discs) เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หดตัว หรือฉีกขาด ทำให้กระดูกสันหลังชนหรือถูกัน มักเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น
  • กระดูกสันหลังตีบ เกิดขึ้นจากการที่กระดูกสันหลังหดตัวลง ทำให้กระดูกสันหลังและเส้นประสาทต้องรับน้ำหนักของร่างกายเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชาที่บริเวณขาและไหล่ มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
  • ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกรานอักเสบหรือสึกหรอ เป็นจุดที่รับน้ำหนักจากช่วงบนลงสู่ช่วงล่างของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้หลังได้รับบาดเจ็บจากโรคข้ออักเสบติดเชื้อ หรือการตั้งครรภ์
  • กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เป็นการเสื่อมสภาพหรืออักเสบที่ข้อต่อและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ประคองกระดูกสันหลัง
  • โรครากประสาทคอ (Cervical Radiculopathy) เกิดจากการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดกระดูกงอกขึ้นมา

สาเหตุที่เกิดจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังหรือนำไปสู่ปัญหาของการเคลื่อนไหวร่างกายได้ เช่น

  • ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • ลื่นล้ม ตกจากที่สูง
  • โดนกระแทกด้วยของแข็ง
  • กระดูกสันหลังแตกหัก
  • เคล็ดขัดยอก
  • บาดเจ็บหรือเกิดการฉีกขาดที่เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง มักเป็นผลมาจากการยกของหนัก หรือการเล่นกีฬา

สาเหตุที่เกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

เช่น

  • การนั่งห่อหลังที่โต๊ะทำงาน
  • ยกของหนักเกินไป
  • มีน้ำหนักตัวมาก
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ใส่รองเท้าส้นสูง

สาเหตุจากภาวะทางอารมณ์

ทั้งความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้

าเหตุอื่น ๆที่ทำให้ปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถเป็นผลมาจากอาการหรือโรคต่าง ๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • โรคข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการตึง บวม และอักเสบ
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เกิดจากการเสื่อมหรือกระดูกถูกทำลาย พบมากในผู้สูงอายุ
  • โรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing Spondylitis) เป็นโรคข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลัง
  • กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เป็นอาการที่เป็นมาตั้งแต่เกิด มักเริ่มพบอาการปวดในวัยกลางคน
  • การตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง
  • เนื้องอก เป็นสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง แต่พบได้ไม่มากที่จะกระจายไปที่บริเวณหลัง
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน
  • กระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) เป็นการติดเชื้อในกระดูกและหมอนรองกระดูก
  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • นิ่วในไตและการติดเชื้อที่ไต

สาเหตุการปวดหลังตามตำแหน่งของอาการได้ ดังนี้

  • บริเวณต้นคอ เป็นการปวดตั้งแต่ช่วงฐานกระโหลกศีรษะไปจนถึงช่วงไหล่ สามารถขยายไปถึงหลังช่วงบนและแขนได้ อาจทำให้ไม่สามารถขยับคอและศีรษะได้เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการปวดศีรษะได้ อาจเกิดจากการห่อตัว นั่งหรือยืนหลังไม่ตรง นอนผิดท่า รวมถึงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยไม่พัก เป็นต้น
  • บริเวณกลางหลัง รวมถึงอาการเจ็บแปลบและแสบร้อนบริเวณอก คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณแนวกระดูกสันหลังและซี่โครง อาจเป็นผลมาจากปลายประสาทอักเสบ หรือการห่อหลังนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง และลงน้ำหนักในเท้าทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
  • บริเวณเอวและสะโพก เป็นการปวดที่เกิดขึ้นได้กับคนส่วนมาก อาจเป็นการปวดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเป็นผลมาจากโครงสร้างที่ผิดปกติ โรคมะเร็ง กระดูกหัก หรือจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การยกของหนักเกินไป นั่งหลังไม่ตรง ยืนในท่าเดิมหรือขับรถเป็นเวลานาน
  • บริเวณก้นและขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ทำให้เส้นประสาทไซอาติก (Sciatica) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เริ่มตั้งแต่เชิงกรานยาว เชื่อมต่อไปที่ขาแต่ละข้างลงไปถึงเท้า เกิดระคายเคืองหรือถูกกระดูกสันหลังกดทับ จะทำให้เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทไซอาติกนี้
อาการ ปวดหลัง
การวินิจฉัยอาการ ปวดหลัง