Illness name: jet lag
Description: Jet Lag (เจ็ตแล็ก) เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางการนอน ซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราวจากการเดินทางบินข้ามเขตเวลาโลกแล้วร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ ทำให้มีอาการ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป อ่อนเพลียในตอนกลางวัน ขาดสมาธิและสมรรถภาพในการทำงาน มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น แม้ว่าอาการ Jet Lag จะเกิดแล้วดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 วันเมื่อผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวและปรับตัวได้ แต่สำหรับบางคนอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น Jet Lag จึงอาจกระทบต่อการท่องเที่ยวพักผ่อน การติดต่อธุรกิจการงาน และการใช้ชีวิตหลังการเดินทาง จนผู้ป่วยบางรายอาจต้องการรับการรักษาจากแพทย์ Jet Lag สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย โดยอาการป่วยที่พบจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นหากเดินทางเป็นเวลานาน หรือผ่านเขตเวลาที่แตกต่างกันหลาย ๆ แห่ง โดยอาการที่พบ ได้แก่ อาการ Jet Lag มักเกิดขึ้นชั่วคราว และดีขึ้นภายใน 1-2 วัน แต่หากประสบปัญหาจากอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมาก อาการรุนแรงมาก มีความจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตเวลาบ่อย ๆ หรือมีอาการ Jet Lag อยู่เสมอ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวางแผนการรับมือกับอาการ Jet Lag ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นต่อไป Jet Lag เกิดจากการเดินทางบินข้ามเขตเวลาโลกแล้วร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ในทันที โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการ Jet Lag ได้แก่ ปกติเซลล์ในร่างกายจะถูกควบคุมให้ระบบต่าง ๆ ทำงานเป็นไปตามปกติภายในรอบเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งรวมไปถึงกิจวัตรประจำวันสำคัญที่ร่างกายต้องทำในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนด้วย หากต้องเดินทางข้ามเขตเวลา ร่างกายต้องปรับนาฬิกาชีวิตใหม่ให้เข้ากับเขตพื้นที่ที่เดินทางไปถึง จึงกระทบต่อร่างกายและการทำกิจวัตรเหล่านั้น เช่น ด้านการนอนและการกิน จนเกิดเป็นกลุ่มอาการของ Jet Lag แสงแดดมีอิทธิพลต่อการผลิตสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานตามปกติ และมีส่วนสำคัญในการปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกายด้วยการส่งสัญญาณกระตุ้นให้ร่างกายทราบเมื่อถึงเวลาที่ควรนอนหลับพักผ่อน ทั้งนี้ อาจให้ร่างกายสัมผัสแสงแดดช่วงกลางวันในพื้นที่เขตเวลาใหม่ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ การเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ และระดับความสูงในระหว่างบิน อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการ Jet Lag ได้แม้ไม่ได้บินข้ามเขตเวลา รวมทั้งสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ อาจทำให้ร่างกายเสี่ยงเผชิญกับภาวะขาดน้ำจนมีอาการในกลุ่มอาการ Jet Lag ปรากฏได้ อาการ Jet Lag มักจะดีขึ้นและหายไปเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ภายใน 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากอาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน อาการไม่ดีขึ้น หรือมีความจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตเวลาบ่อย ๆ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะแนะนำแนวทางการรับมือกับอาการ Jet Lag หรืออาจแนะนำวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้ แพทย์อาจจ่ายยานอนหลับเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน โดยอาจใช้ยากลุ่มนอนเบนโซไดอะเซปีน (Nonbenzodiazepines) เช่น โซลพิเดม (Zolpidem) หรือยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีน (Benzodiazepines) เช่น ไตรอะโซแลม (Triazolam) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น ไม่ใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ เพราะยานอนหลับอาจมีฤทธิ์ในทางเสพติด และควรรีบปรึกษาแพทย์หากพบผลข้างเคียงที่อาจกระทบต่อปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำมูกไหล คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว วิงเวียน สับสนมึนงง ง่วงนอนแม้เพิ่งตื่นนอน ท้องร่วง เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ในปัจจุบันอาจมีการโฆษณาขายยาแก้หรือป้องกันอาการ Jet Lag มากมาย แต่การใช้ยาอย่างผิดกฎหมายและไม่ใช่ยาภายใต้คำสั่งแพทย์ ย่อมมีความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ป่วย ฉะนั้น หากผู้ป่วยมีข้อสงสัยหรือมีอาการป่วยที่ต้องการการรักษา ควรเข้ารับการปรึกษาหรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ไม่ควรรับประทานยารักษาใด ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ผ่านคำสั่งหรือคำแนะนำจากแพทย์ สารเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นจากต่อมไพเนียลในสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนอนหลับและการตื่นนอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย การรับประทานฮอร์โมนเมลาโทนินจึงอาจช่วยปรับวงจรการนอนให้เป็นปกติ แก้ปัญหาอาการ Jet Lag และปรับนาฬิกาชีวิตให้เข้ากับเขตเวลาใหม่ได้ในที่สุด การรับประทานอาหารเสริมอาจเป็นประโยขน์ต่อบางคน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่เพียงพอจะยืนยันประสิทธิภาพของมันได้อย่างชัดเจน โดยวิธีการรับประทานฮอร์โมนเมลาโทนินที่แนะนำ คือ อย่างไรก็ดี ควรรับประทานเมลาโทนินภายใต้คำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร และรับประทานฮอร์โมนในวิธีและปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย โดยต้องปรึกษาแพทย์ถึงประวัติการป่วยและการใช้ยาของผู้ป่วยก่อนเริ่มรับยาเสมอ เนื่องจากการรับฮอร์โมนเมลาโทนินอาจส่งผลกระทบต่อโรคหรืออาการป่วยอื่น รวมทั้งอาจทำปฏิกิริยาต่อยารักษาตัวอื่นที่กำลังใช้อยู่ โดยเฉพาะหากกำลังป่วยด้วยโรคลมชัก หรือกำลังรับประทานกลุ่มยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) แสงสว่างในตอนกลางวันจะช่วยปรับนาฬิกาชีวิตของร่างกายด้วยการกระตุ้นให้สมองสั่งการร่างกายตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปตามปกติ และกระตุ้นให้ทราบเมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางเป็นเวลานาน และเผชิญปัญหาอาการ Jet Lag แพทย์อาจแนะนำวิธีการบำบัดด้วยแสง เช่น การรับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมหลังการเดินทางข้ามเขตเวลา การใช้แสงสว่างจำลองหรือแสงจากโคมไฟเพื่อช่วยกระตุ้นในช่วงเวลาที่ต้องตื่นนอนความหมาย เจ็ตแล็ก (Jet Lag)
อาการของเจ็ตแล็ก
อาการเจ็ตแล็กที่ควรไปพบแพทย์
สาเหตุของเจ็ตแล็ก
นาฬิกาชีวิตของร่างกาย (Circadian Rhythms) ถูกรบกวน
อิทธิพลของแสงแดด
สภาพอากาศ และแรงดันอากาศภายในห้องโดยสาร
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเผชิญปัญหาอาการเจ็ตแล็ก
การรักษาเจ็ตแล็ก
การปรับพฤติกรรมรับมืออาการเจ็ตแล็ก
การใช้ยา
การรับประทานฮอร์โมนเมลาโทนิน
การบำบัดด้วยแสง
ภาวะแทรกซ้อนของเจ็ตแล็ก
การป้องกันเจ็ตแล็ก