Illness name: อาการของธาลัสซีเมีย

Description:

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
  • ความหมาย
  • อาการของธาลัสซีเมีย
  • สาเหตุของธาลัสซีเมีย
  • ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมีย
  • การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย
  • การรักษาธาลัสซีเมีย
  • การป้องกันธาลัสซีเมีย

อาการของธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

Share:

อาการของธาลัสซีเมียจะปรากฏลักษณะของอาการและระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปตามประเภทธาลัสซีเมียที่เป็น ทารกบางคนอาจแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่เด็กบางคนจะแสดงอาการในช่วง 1-2 ขวบ และสำหรับผู้ที่มีธาลัสซีเมียเพียงยีนเดียวหรือเป็นธาลัสซีเมียแฝงจะไม่ปรากฏอาการป่วยใด ๆ โดยธาลัสซีเมียแต่ละประเภทประกอบไปด้วยธาลัสซีเมียแฝงหรือธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor) อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) และเบต้าธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) ซึ่งแต่ละประเภทมีอาการดังนี้

  • ธาลัสซีเมียแฝงและธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor) ผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียแฝงจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ ออกมา หรือหากเกิดอาการก็อาจพบภาวะโลหิตจางเพียงเล็กน้อย
  • อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) ประกอบด้วยธาลัสซีเมียชนิดย่อยอีก 2 ประเภท ได้แก่ โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H Disease) และภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrops Fetalis) ซึ่งธาลัสซีเมียทั้ง 2 ประเภทมีอาการดังนี้
    • โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H Disease) สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระดูก โดยกระดูกตรงโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรจะโตผิดปกติ โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมโกลบินเอชจะป่วยเป็นดีซ่านซึ่งทำให้เด็กผิวเหลืองหรือดวงตามีสีขาว ม้ามโตผิดปกติ และประสบภาวะขาดสารอาหาร และมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
    • ภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrops Fetalis) จัดเป็นภาวะธาลัสซีเมียที่รุนแรงมาก โดยภาวะทารกบวมน้ำจะเกิดขึ้นก่อนเด็กคลอดออกมา เด็กที่เกิดภาวะนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน
  • เบต้าธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) ประกอบด้วยธาลัสซีเมียย่อยอีก 2 ประเภท ได้แก่ ธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia Major) หรือคูลลี แอนิเมีย (Cooley's Anemia) และธาลัสซีเมียอินเตอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) ซึ่ง 2 ประเภทมีลักษณะอาการเฉพาะดังนี้
    • ธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia Major) หรือคูลลี ธาลัสซีเมีย (Cooley's Thalassemia) อาการของธาลัสซีเมียชนิดนี้จะปรากฏก่อนเด็กอายุครบ 2 ปี โดยผู้ป่วยจะออกอาการรุนแรงมากจนต้องได้รับการถ่ายเลือดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรงอันเป็นผลมาจากธาลัสซีเมียชนิดนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต เด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียเมเจอร์มักมีผิวซีด ติดเชื้อบ่อย น้ำย่อยไม่ดี ร่างกายแคระแกร็น มีภาวะซีด เหลือง เป็นดีซ่าน ท้องโตจากตับและม้ามโตผิดปกติ
    • ธาลัสซีเมียอินเตอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) ธาลัสซีเมียชนิดนี้ถือว่าเป็นอาการของเบต้าธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงน้อย ผู้ที่ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด
ความหมาย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
สาเหตุของธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)