Illness name: หูดับ
Description: หูดับ หูดับเฉียบพลัน หรือ หูตึงเฉียบพลัน คือ ภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลันหรือประสาทหูเสื่อมอย่างเฉียบพลัน ทำให้ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ อาการนี้มักเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียว และอาจเกิดในชั่วขณะ หรือเป็นเวลาหลายวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหูดับเกิดขึ้น เพราะอาการหูดับที่เผชิญอยู่อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสุขภาพที่เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของหูดับ เมื่อมีอาการหูดับ ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้ยินเสียงใด ๆ หลังจากตื่นนอนในตอนเช้า อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยอาจรู้ตัวภายหลังหากหูดับเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาจมีสัญญาณบ่งชี้ก่อนเกิดอาการหูดับ เช่น สาเหตุของหูดับ หูดับเกิดจากเซลล์รับเสียง หรือวิถีประสาทที่อยู่ระหว่างหูกับสมองได้รับความเสียหาย มีสาเหตุมากมายที่เป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดอาการหูดับมากกว่า 100 ปัจจัย แต่โดยทั่วไป อาการหูดับมักจะยากที่จะตรวจเจอสาเหตุที่ชัดเจนได้ มีเพียง 10-15% ในผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น ที่แพทย์สามารถระบุสาเหตุชัดเจนได้ ตัวอย่างปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีอาการหูดับ ได้แก่ นอกจากนี้ อาการหูดับในเด็กอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การวินิจฉัยหูดับ เมื่อมีอาการหูดับ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที โดยแพทย์อาจตรวจวินิจฉัยตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ หากเป็นอาการหูดับในเด็ก ผู้ปกครองลองสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญก่อนพาเด็กไปพบแพทย์ เช่น การรักษาหูดับ แม้อาการหูดับที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจไม่ค่อยพบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่มีวิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการตามอาการที่เกิดขึ้น ส่วนในรายที่แพทย์ระบุสาเหตุได้ ควรได้รับการรักษาตามปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยแพทย์อาจวางแผนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมและแตกต่างกันไปตามสภาพอาการ เช่น นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดอาการป่วย และความรุนแรงของอาการด้วย แต่ยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วขึ้น ก็ยิ่งทำให้อาการป่วยดีขึ้นและฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นไปด้วย ผู้ป่วยจึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพหูและการได้ยินของตนอยู่เสมอ และไปพบแพทย์ทันทีหากมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น เพราะผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ย่อมมีโอกาสสูงที่จะกลับมามีการได้ยินตามปกติได้ แต่หากเข้ารับการรักษาช้าเกินไป อาจทำให้เกิดความเสียหายจนหูหนวกหรือไม่สามารถกลับมาได้ยินเสียงตามปกติได้อีก ภาวะแทรกซ้อนของหูดับ อาการหูดับมักส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในด้านคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจ เช่น มีความยากลำบากในการทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร สูญเสียความมั่นใจ มีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น หรือนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ส่วนลักษณะและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของหูดับ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคด้วย อย่างไรก็ตาม หากอาการหูดับที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ถูกปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดความเสียหายในประสาทหูอย่างถาวร จนทำให้หูหนวกได้ในที่สุด การป้องกันอาการหูดับ หูดับอาจป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค หรือระมัดระวังและถนอมประสาทหู รวมทั้งป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้นได้ เช่นความหมาย หูดับ