Illness name: มะเร็งทวารหนัก
Description: มะเร็งทวารหนัก คือ การเกิดเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือลำไส้ตรง ผู้ป่วยมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายแสง เป็นต้น แต่หากปล่อยไว้ มะเร็งอาจลุกลามไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยโอกาสในการรักษาให้หายขาดนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการตรวจพบด้วย อาการหลักของมะเร็งทวารหนักมักคล้ายกับอาการของโรคริดสีดวงทวารหรือโรคในระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ คือ มีเลือดออกทางทวารหนัก และอาจมีเลือดปนมากับอุจจาระด้วย รวมถึงอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ เนื่องจากอาการส่วนใหญ่คล้ายกับโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ จึงทำให้การวินิจฉัยมะเร็งทวารหนักเป็นไปได้ช้า แต่หากผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อความรวดเร็วในการตรวจพบโรคและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาด้วย สาเหตุหลักมักเกิดจากการติดเชื้อเอชพีวีที่เป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ เป็นต้น ซึ่งจะติดต่อผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งทวารหนัก คือ HPV-16 และ HPV-18 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้ ดังนี้ การวินิจฉัยในเบื้องต้นจะเริ่มจากการสอบถามประวัติของคนไข้ ทั้งประวัติการป่วย การใช้ยา ประวัติที่เกี่ยวกับการเกิดโรคมะเร็ง หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง จากนั้นจะมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้ ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งทวารหนักแล้ว แพทย์อาจต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อดูว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่ ดังนี้ แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะและความรุนแรงของมะเร็ง การตอบสนองของร่างกายต่อการรักษา สุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น โดยวิธีการรักษาหลัก ๆ มีดังนี้ การทำเคมีบำบัดหรือที่เรียกว่า คีโม เป็นการรักษาด้วยยา โดยอาจฉีดยาเข้าทางเส้นเลือดโดยตรงหรือให้ผู้ป่วยกินยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ส่งผลให้เซลล์สุขภาพดีถูกทำลายไปด้วย จึงอาจเกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เป็นต้น การรักษานี้เป็นการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณที่เป็นมะเร็ง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในบริเวณนั้น มักใช้รักษาควบคู่กับการทำเคมีบำบัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เนื้อเยื่อใกล้เคียงถูกทำลายไปด้วย และอาจมีผลข้างเคียงทำให้ผิวหนังเป็นแผลหรือเกิดรอยแดง เป็นการตัดเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งออก แต่เนื้อเยื่อที่ดีในบริเวณใกล้เคียงก็อาจโดนตัดออกไปด้วย ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ในกรณีที่มะเร็งทวารหนักมีขนาดเล็กและยังเป็นในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดรักษามะเร็งมีหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์จะวิเคราะห์จากอาการของผู้ป่วยและเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมมาใช้กับผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักได้รับผลข้างเคียงจากทั้งอาการป่วยและวิธีการรักษา จึงอาจทำให้มีสภาพจิตใจที่แย่ลง และอาจมีผลต่อการรักษาได้ ดังนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมด้วย ซึ่งจะเน้นรักษาผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น โดยแพทย์อาจแนะนำวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เช่น การนั่งสมาธิ การนวดผ่อนคลาย การฝังเข็ม การใช้ดนตรีบำบัดการรำไทชิ การออกกำลังกาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ภายในครั้งเดียว แต่ผู้ป่วยต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องและอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ โดยแพทย์อาจนัดติดตามผลอย่างต่อเนื่องประมาณ 5 ปีหลังการรักษา เพื่อตรวจสุขภาพและฟื้นฟูอาการที่เป็นผลข้างเคียงของการรักษาด้วย มะเร็งทวารหนักอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยเฉพาะตับและปอด ซึ่งจะทำให้การรักษายากขึ้น แต่โอกาสที่จะแพร่กระจายนั้นก็เกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมะเร็งทวารหนักอาจเสี่ยงกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้งในบริเวณอื่น ๆ ภายในร่างกาย แม้ยังไม่สามารถป้องกันโรคมะเร็งทวารหนักได้โดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โดยทั่วไปอาจลดความเสี่ยงของโรคได้ ดังนี้ความหมาย มะเร็งทวารหนัก
อาการของมะเร็งทวารหนัก
สาเหตุของมะเร็งทวารหนัก
การวินิจฉัยมะเร็งทวารหนัก
การรักษามะเร็งทวารหนัก
การทำเคมีบำบัด
การฉายรังสี
การผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งทวารหนัก
การป้องกันมะเร็งทวารหนัก