Illness name: การวินิจฉัยไข้เลือดออก

Description:

ไข้เลือดออก
  • ความหมาย
  • อาการของไข้เลือดออก
  • สาเหตุของไข้เลือดออก
  • การวินิจฉัยไข้เลือดออก
  • การรักษาไข้เลือดออก
  • ภาวะแทรกซ้อนของไข้เลือดออก
  • การป้องกันไข้เลือดออก

การวินิจฉัย ไข้เลือดออก

Share:

การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก สามารถทำได้ดังนี้คือ

การวินิจฉัยด้วยตนเอง

สังเกตอาการป่วยที่แสดง โดยเฉพาะการมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัวรุนแรง หรือมีเลือดออกง่าย อย่างเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน มีห้อเลือดหรือผดผื่นแดงบริเวณผิวหนัง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณของการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์

การวินิจฉัยโดยแพทย์

แพทย์ซักประวัติผู้ป่วยเพื่อทราบแหล่งที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางล่าสุดว่าผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคมาหรือไม่ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม แพทย์จะตรวจผู้ป่วยว่ามีอาการอยู่ในเกณฑ์ส่วนใหญ่ดังต่อไปนี้หรือไม่ หรือมีความรุนแรงของอาการในระดับใด

  • มีไข้สูงประมาณ 39‒41 องศาเซลเซียส
  • มีเลือดออกง่าย อย่างเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน หรือมีจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง
  • ปวดบริเวณชายโครงขวา กดไปบริเวณดังกล่าวแล้วรู้สึกเจ็บ เพราะตับโต
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • ความเข้มข้นของเลือดสูง หรือมีน้ำบริเวณช่องปอด
  •  มีภาวะช็อก

สำหรับการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยนั้น เบื้องต้นแพทย์มักใช้วิธี CBC (Complete Blood Count) ซึ่งเป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด การตรวจเลือดหาภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อ (Antibody Test) ซึ่งจะตรวจพบความผิดปกติได้ภายใน 3‒4 วันหลังมีไข้สูง และการตรวจ Electrolytes เป็นการตรวจหาแร่ในเลือดและของเหลวในร่างกาย ทำให้ทราบปริมาณน้ำในร่างกาย ค่าความเป็นกรดของเลือด และการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

ในบางกรณีอาจต้องเอกซเรย์บริเวณหน้าอก เพื่อตรวจดูการทำงานของปอดและของเหลวภายใน และการตรวจวิเคราะห์ผลในห้องแล็บจากระดับเอนไซม์ตับก็เป็นอีกวิธีในการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและเลือกการตรวจทางห้องแล็บหรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาในขณะนั้น

สาเหตุของ ไข้เลือดออก
การรักษา ไข้เลือดออก