Illness name: การรักษาเริม
Description: เริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากแม้ว่าแผลเริมจะหายแล้วแต่เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ก็ยังคงหลบซ่อนอยูบริเวณประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้การรักษาเริมโดยส่วนใหญ่เน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลเริม และการควบคุมความรุนแรงของอาการ ความถี่ของการเกิดอาการ รวมทั้งการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส การบรรเทาอาการเจ็บปวดด้วยตัวเอง การรักษาโรคเริมด้วยตัวเองโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการปวดและคันบริเวณแผลเริม เนื่องจากเริมสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ซึ่งวิธีการบรรเทาอาการเจ็บปวดของเริมที่ปากและเริมที่อวัยวะเพศสามารถทำได้ดังนี้ เริมที่ปาก เริมที่อวัยวะเพศ การใช้ยา โรคเริมยังไม่มียาที่สามารถรักษาได้โดยตรง ดังนั้นในช่วงทเี่กิดอาการ แพทย์อาจสั่งยาลดอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟน นอกจากนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดและระคายเคืองก็อาจใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของยาชาเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อควบคุมการแพร่กระจายและบรรเทาความรุนแรงและความถี่ในการเกิดโรค โดยยาต้านไวรัสที่นิยมใช้มีดังนี้ ทั้งนี้ยาต้านไวรัสชนิดครีมสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่การใช้ยาชนิดครีมจะได้ผลก็ต่อเมื่อใช้ในขณะที่เริ่มมีอาการแสดงเท่านั้น เพราะหากใช้ในขณะที่อาการเริ่มรุนแรงมากขึ้นจะไม่ค่อยได้ผลมากนัก ควรรีบใช้ยาต้านไวรัสชนิดครีมทาทันทีเมื่อรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บ หรือแสบร้อนที่ผิวหนังบริเวณปากเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น โดยควรทาอย่างน้อยวันละ 4-5 ครั้ง ทั้งนี้การใช้ยาทาชนิดครีมไม่สามารถกำจัดไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์หรือป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไปได้ การสั่งยาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มล้วนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนการกลับมาเป็นซ้ำของเริมที่อวัยวะเพศ โดยสำหรับผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นซ้ำน้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี แพทย์จะใช้วิธีการรักษาแบบเอพิโซดิก (Episodic Treatment) นั่นก็คือการสั่งใช้ยาอะไซโคลเวียร์ 5 วันติดต่อกันเมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บหรือมีอาการชาซึ่งเป็นสัญญาณแรกของเริม แต่ถ้าผู้ป่วยมีการกลับมาเป็นซ้ำมากกว่า 6 ครั้งต่อปี หรือมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงจนเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ แพทย์อาจใช้การรักษาแบบยับยั้งอาการ ซึ่งเป็นการรับประทานยาอะไซโคลเวียร์ต่อเนื่องวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6-12 เดือน เป็นการรักษาในระยะยาวที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำในอนาคต อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ทว่าการรักษาแบบนี้จะไม่สามารถป้องกันได้โดยสิ้นเชิง การรักษานี้มักจะจบลงหลังการรักษา 12 เดือนเมื่อความถี่ของการติดเชื้อซ้ำลดลง จากนั้นผู้ป่วยก็จะกลับไปใช้วิธีการรักษาแบบครั้งคราว คือรับประทานยาติดต่อกัน 5 วันเมื่อเกิดอาการกำเริบ ทั้งนี้ความถี่และความรุนแรงของเริมที่อวัยวะเพศจะลดลงหลังจากการรักษาด้วยวิธียับยั้งอาการประมาณ 2 ปี แต่แพทย์อาจต้องกลับมาใช้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอีกครั้งหากอาการกลับมารุนแรงอีก และแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหากอาการยังคงรุนแรงแม้ว่าจะกลับมารักษาด้วยวิธียับยั้งอาการแล้วก็ตาม นอกจากการใช้ยาต้านไวรัสแล้ว การใช้ยาชนิดอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการก็อาจเป็นไปได้ อาทิ ยาไอบูโพรเฟน หรือยาพาราเซตามอล ที่ใช้เพื่อลดอาการปวดของแผล ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหอบหืด แผลในกระเพาะอาหาร ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟน และเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากมีอาการของเริมที่ปากควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ การผ่าตัดคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเริม การผ่าตัดในโรคเริมไม่ใช่การรักษาแต่เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก เนื่องจากการคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติในกลุ่มผู้ป่วยเพศหญิงที่มีเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ และเกิดการประทุของเชื้อในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด ซึ่งจะทำให้ทารกเสี่ยงกับการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวและมีอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นหากมารดามีอาการของเริมที่อวัยวะเพศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะวินิจฉัยที่จะทำการผ่าคลอด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กติดเชื้อจากบริเวณปากมดลูกหรืออวัยวะเพศที่อาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่ แต่หากในช่วงตั้งครรภ์ไม่มีอาการของเริมที่อวัยวะเพศกำเริบ ก็สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่ควรต้องแจ้งแพทย์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เพื่อที่แพทย์จะได้ติดตามอาการและวางแผนการดูแลสุขภาพต่อไป สนับสนุนโดย:
การรักษา เริม