Illness name: ตาบอด
Description: ตาบอด (Blindness/Vision Impairment) คือ ภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้ความแตกต่างระหว่างแสงสว่างและความมืดได้ ถือเป็นความพิการทางตาหรือการบกพร่องทางการมองเห็นในระดับที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้รับการศึกษา และประกอบอาชีพได้เช่นคนปกติทั่วไป อาการตาบอดอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรับประทานยา การผ่าตัด การสวมแว่นตาหรือการใส่คอนแทคเลนส์ แต่อาจมีวิธีการรับมือและป้องกันได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยเริ่มสูญเสียการมองเห็น ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา แต่ในกรณีที่ความสามารถในการมองเห็นเสียหายจนรักษาไม่ได้ ผู้ป่วยอาจต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อักษรเบรลล์ หรือโปรแกรมเสียงสำหรับคนตาบอดโดยเฉพาะ เป็นต้น อาการตาบอด องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของตาบอดไว้ว่า เป็นสายตาที่ดีที่สุดเมื่อแก้ไขด้วยแว่นธรรมดา (แว่น สายตาสั้นแว่นสายตายาว แว่นสายตาเอียง) แล้วเห็นน้อยกว่า 3/60 ลงไปจนถึงบอดสนิท ไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า 10 องศาลงไป โดยอาจเกิดขึ้นกับดวงตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาการตาบอดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ตาบอดสนิท (Complete Blindness) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เลย หรือเห็นเป็นภาพมืดทั้งหมด และตาบอดบางส่วน (Partial Blindess) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการมองเห็นที่จำกัด อาจมองเห็นเพียงเงาลาง ๆ และไม่สามารถมองเห็นรูปร่างของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นผู้ที่ตาบอดบางส่วนอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ นอกจากนี้ อาการตาบอดเกิดขึ้นในเด็กได้เช่นกัน โดยอาจเริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์ และพัฒนาอาการต่อเนื่องภายหลังการคลอดเป็นเวลา 2 ปี ตามปกติแล้ว ในช่วง 6-8 สัปดาห์แรก ทารกจะสามารถจ้องมองหรือติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ และภายใน 4 เดือน ดวงตาของทารกควรจะอยู่ในแนวตำแหน่งปกติ ไม่มีลักษณะตาเข แต่หากบุตรหลานมีอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณของอาการตาบอดหรือมีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้ที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการตาบอด ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตา โรคเบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (Stroke) ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดดวงตา ผู้ที่ต้องใช้สารเคมีหรือวัตถุมีคมระหว่างการทำงาน เด็กทารกคลอดก่อนกำหนดและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ สาเหตุของตาบอด การสูญเสียการมองเห็นคือสัญญาณเริ่มต้นของอาการตาบอด โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดแตกต่างกันในผู้ใหญ่และเด็กดังนี้ โรคที่เป็นสาเหตุตาบอดในผู้ใหญ่ ได้แก่ โรคที่เป็นสาเหตุของอาการตาบอดในเด็ก ได้แก่ การวินิจฉัยอาการตาบอด แพทย์อาจสอบถามประวัติอาการเพื่อช่วยในการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ และวินิจฉัยดวงตาแต่ละข้าง เนื่องจากอาการตาบอดเกิดขึ้นได้กับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง โดยแพทย์จะถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับดวงตาและการมองเห็น ตรวจลักษณะภายนอกของดวงตา (External Examination) ด้วยการใช้ไฟฉายเพื่อดูเปลือกตา (Eyelids) และเนื้อเยื่อรอบๆ ดวงตา ตามด้วยการตรวจลักษณะของดวงตาตั้งแต่เยื่อบุตาขาว ตาขาว กระจกตา ช่องหน้าม่านตา รูม่านตา เลนส์ตา ไปจนถึงส่วนหลังของลูกตา ซึ่งได้แก่ น้ำวุ้นตา จอประสาทตา และขั้วประสาทตา ซึ่งอาจต้องอาศัยเครื่องมือสำหรับตรวจตาโดยเฉพาะ นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้การทดสอบต่าง ๆ ต่อไปนี้เพื่อประเมินร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยเด็กหรือทารก แพทย์อาจเริ่มต้นจากการตรวจดูแนวตำแหน่งตา แล้วจึงตรวจวัดระดับการมองเห็น (Visual Acuity) การโฟกัสภาพ โครงสร้างและการทำงานของดวงตา เช่น การจ้องมอง การตอบสนองต่อแสง หรือวัตถุที่มีสี และตรวจตาด้วยอุปกรณ์สำหรับเด็ก เป็นต้น การรักษาอาการตาบอด การรักษาอาการตาบอดหรือความบกพร่องในการมองเห็นขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หากแพทย์ตรวจพบสาเหตุของอาการตาบอดที่สามารถรักษาได้ อาจต้องเข้ารับการรักษาตามสาเหตุโดยวิธีต่อไปนี้ ในกรณีที่สาเหตุของอาการตาบอดไม่สามารถรักษาได้แพทย์อาจแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการใช้สายตาให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดบางส่วน (Partial Blindess) หรือสามารถมองเห็นได้อย่างจำกัด ดังนี้ ส่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดสนิท (Complete Blindness) ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น สำหรับประเทศไทยเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นคนตาบอดที่ไม่มีวิธีรักษาให้ดีขึ้นแล้ว ผู้นั้นจะต้องไปลงทะเบียนเป็นคนพิการทางสายตา (ทั้งตาบอดและตาเห็นเลือนราง) เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มีสิทธิเข้าถึงการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพต่าง ๆ ที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นสวัสดิการให้คนพิการสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป โดยมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่ การป้องกันอาการตาบอด อาการตาบอดอาจไม่มีสัญญาณเตือนหรือแสดงอาการใด ๆ และคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสายตาที่บกพร่องนั้นเกิดจากความเสื่อมของดวงตาจากอายุที่มากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วเกิดได้จากหลายสาเหตุ และอาการตาบอดมักเกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ 80-90% หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเมื่อมีความผิดปกติที่ดวงตา และสามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ การเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติหรือสัญญาณการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาที่ทันเวลา และมีวิธีการป้องกันไม่ให้อาการทรุดลงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงควรรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อสงสัยหรือมีภาวะสูญเสียการมองเห็น เพราะอาจมีโอกาสในการฟื้นฟูการมองเห็นได้สูงขึ้น กรณีของทารก ทารกอายุ 6-8 สัปดาห์มักมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าทางสายตาได้ แต่หากบุตรหลานไม่สามารถตอบสนองต่อแสงสว่างหรือวัตถุที่มีสีสันในช่วงอายุ 2-3 เดือน ไม่สามารถมองตามวัตถุ หรือมีอาการและความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ตาเข ควรรีบนำตัวเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที แต่หากระหว่างนั้นทารกไม่มีความผิดปกติใด ๆ ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานเข้ารับการตรวจตากับแพทย์ได้เมื่ออายุครบ 6 เดือน การป้องกันอื่น ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้แก่ความหมาย ตาบอด