Illness name: พฤติกรรมการเคลื่อนไหว
Description: Catatonia คือกลุ่มอาการทางด้านพฤติกรรมและระบบการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ โดยสาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช (Psychotic Disorder) โรคทางอารมณ์ (Mood Disorder) โรคทางระบบประสาทและสมอง หรือเป็นผลมาจากปัจจัยอื่น เช่น การใช้ยา การติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษที่รุนแรง เป็นต้น Catatonia แบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะอาการที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีอาการนิ่งเหม่อลอย ไม่ตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นใด ๆ หรือบางคนอาจตื่นตัวมากผิดปกติ กระสับกระส่าย หรืออยู่ไม่สุข ผู้ป่วย Catatonia แต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกัน โดยอาการอาจเกิดขึ้นและคงอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมง หลายสัปดาห์ หรือนานหลายปี ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่มักพบได้ เช่น นอกจากนี้ ผู้ป่วย Catatonia บางคนอาจพบอาการอื่น ๆ เช่น เพ้อ ไข้ขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง เหงื่อออก สัญญาณผิดปกติทางร่างกายบางอย่างที่รุนแรง โดยอาจทำให้ระดับความดันโลหิต อุณหภูมิในร่างกาย อัตราการหายใจ หรืออัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป เป็นต้น ซึ่งอาการหล่านี้ต้องไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ในบางกรณีที่อาการความรุนแรงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ทางการแพทย์ยังไม่ทราบกลไกการเกิด Catatonia ที่แน่ชัด ส่วนมากแพทย์มักตรวจพบอาการในผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางอารมณ์ หรือโรคจิตเวช อย่างภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ และโรคจิตเภท (Schizophrenia) ในบางกรณี สาเหตุของ Catatonia อาจเกี่ยวข้องกับโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการเกิด Catatonia อาจเพิ่มมากขึ้นตามอายุ และมีแนวโน้มหรือพบได้มากในผู้หญิง ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) ผู้ที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด อย่างยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) หรือการใช้โคเคน ในการวินิจฉัย Catatonia เบื้องต้น แพทย์จะสังเกตพฤติกรรมร่วมกับการพูดคุยกับผู้ป่วย โดยกระบวนการดังกล่าวอาจมีวิธีที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน จากนั้นจะใช้วิธีตรวจอื่นเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจส่งผลให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน เช่น โรคหรือภาวะบางอย่างอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายคลึงกับ Catatonia เช่น ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte Imbalance) หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) โดยแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย และหาค่าดีไดเมอร์ (D–Dimer) เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าค่าดีไดเมอร์ที่สูงขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับการเกิด Catatonia แพทย์อาจตรวจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) บริเวณสมองของผู้ป่วย เพื่อดูความผิดปกติทางสมองบางอย่าง เช่น ภาวะสมองบวม หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคนจากโรคหรือภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของ Catatonia ในเบื้องต้นมักใช้วิธีการรักษาด้วยยาเป็นอันดับแรก โดยยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษา เช่น นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด Catatonia อย่างการขาดวิตามินบางชนิด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการฉีดหรือรับประทานวิตามินเสริมร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการขั้นรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือเคยมีประวัติการเกิด Catatonia มาก่อน แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีอื่น อย่างการรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) ที่ใช้เครื่องมือในการปล่อยกระแสไฟฟ้าสู่สมองของผู้ป่วย เพื่อปรับระดับสารสื่อประสาทในสมองที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการในกลุ่ม Catatonia อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุ และหากเกิดอาการดังกล่าวเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดโรคหรือภาวะอื่นตามมา เช่น ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิด Catatonia ได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการในกลุ่ม Catatonia ควรระมัดระวังการใช้ยาต้านอาการทางจิตบางชนิด อย่างยาคลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าว อาจส่งผลให้อาการต่าง ๆ แย่ลงความหมาย พฤติกรรมการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Catatonia)
อาการของ Catatonia
สาเหตุของ Catatonia
การวินิจฉัย Catatonia
การตรวจเลือด
การใช้ภาพวินิจฉัย (Imaging Tests)
การรักษา Catatonia
ภาวะแทรกซ้อนของ Catatonia
การป้องกัน Catatonia