Illness name: ปากแหว่งเพดานโหว่
Description: ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip, Cleft Palate) เป็นโรคที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดคือ จะมีรอยแยกที่บริเวณริมฝีปาก ใต้จมูก เหงือกบน หรือเพดานปาก สามารถเกิดขึ้นแยกกันอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกันทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่ได้ ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคที่พบตั้งแต่เด็ก และถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่งโดยเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา และอาจตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือหลังคลอด โดยจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพ การรับประทานอาหาร การกลืน การได้ยิน และสุขภาพในช่องปากได้ ลักษณะของปากแหว่งเพดานโหว่ ทารกสามารถเกิดมาพร้อมลักษณะของปากแหว่งหรือเพดานโหว่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างร่วมกันได้ โดยลักษณะของโรคปากแหว่งเพดานโหว่สามารถพบได้ 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ สาเหตุของปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่สามารถเกิดได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ในช่วงเดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการสร้างอวัยวะ ได้แก่ ปากและเพดานปาก ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค และเชื่อว่าอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ การวินิจฉัยปากแหว่งเพดานโหว่ ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาหรือเกิดขึ้นหลังการคลอด การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยกัน 2 วิธี คือการอัลตราซาวด์ และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ การรักษามีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับประทานอาหาร การพูด การได้ยิน รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ การรักษาสามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัด จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง รูปแบบของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การดูแลรักษาจำเป็นต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาร่วมดูแลเป็นทีม เช่น กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ทันตแพทย์ นักฝึกพูด โดยจะมีการวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยและให้คำแนะนำการผ่าตัดผู้ป่วยแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นและเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ภาวะแทรกซ้อนของปากแหว่งเพดานโหว่ ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งหรือเพดานโหว่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การป้องกันปากแหว่เพดานโหว่ โรคนี้ป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา อาจไม่มีการป้องกัน แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในบุตรคนต่อไป โดยสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย ปากแหว่งเพดานโหว่