Illness name: cystic fibrosis
Description: Cystic Fibrosis (ซิสติก ไฟโบรซิส) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้สารคัดหลั่งของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น เช่น ปอด ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการของโรคมีแนวโน้มปรากฏตั้งแต่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก เช่น ลำไส้ไม่ทำงานในช่วง 1-2 วันหลังคลอด มีเหงื่อเค็มมากกว่าปกติที่สังเกตได้จากการหอมแก้มหรือจูบผิวทารก น้ำหนักตัวน้อย เจริญเติบโตช้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่พบอาการจนกระทั่งย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นหรือโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยอาการของโรคจะแตกต่างหลากหลายกันไปตามอายุและความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ดังนี้ แม้ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ไม่บ่อยนัก แต่ควรไปปรึกษาแพทย์ หากพบว่าบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัวอาจเป็น Cystic Fibrosis โดยเฉพาะเมื่อมีอาการ เช่น มีไข้ ไอมากขึ้น เสมหะเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ท้องบวม ท้องอืด หรือมีอาการปอดบวมซ้ำ ๆ Cystic Fibrosis เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม ทำให้ร่างกายควบคุมการเคลื่อนที่ของเกลือและน้ำที่เข้าออกจากเซลล์ผิดปกติ ส่งผลให้สารคัดหลั่งในอวัยวะต่าง ๆ เกิดเป็นเมือกเหนียวข้นขึ้น เช่น บริเวณปอด ตับ ตับอ่อน หรือลำไส้ จนสร้างปัญหาให้กับระบบย่อยอาหารอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อต่อมเหงื่อและระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย และอาจเกิดปอดอักเสบซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ความผิดปกติของยีน Cystic Fibrosis สืบทอดผ่านพันธุกรรม และมักปรากฏอาการของโรคเมื่อได้รับยีนที่ผิดปกติทั้งจากพ่อและแม่ แต่หากได้รับยีนผิดปกติมาจากทางพ่อหรือแม่เพียงฝ่ายเดียวก็อาจไม่เกิดอาการหรือความผิดปกติใด ๆ โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกชาติพันธุ์ แต่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับคนยุโรปผิวขาวหรือผู้สืบเชื้อสายจากคนกลุ่มนี้ได้มากกว่า หากผู้ป่วยมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นโรค Cystic Fibrosis แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค Cystic Fibrosis ให้หายขาดได้ เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่สามารถบรรเทาอาการ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้ การใช้ยา เช่น การทำกายภาพบำบัดปอด หรือการเคาะปอด วิธีการ คือ ห่อมือเป็นรูปถ้วยแล้วตบเบา ๆ ตามจุดต่าง ๆ บริเวณหน้าอก ทำประมาณวันละ 1-4 รอบ เพื่อช่วยให้ขับเสมหะออกจากปอดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เสริมหรือแนะนำท่ากายภาพบำบัดทรวงอกอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด รวมถึงปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เช่น ฝึกเทคนิคการหายใจ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรค Cystic Fibrosis และวิธีการใช้ชีวิตร่วมกับโรคนี้อย่างเป็นสุข การดูแลตนเอง เนื่องจากโรค Cystic Fibrosis จะขัดขวางการทำงานของลำไส้เล็ก และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ จึงควรดูแลตนเองเพิ่มเติมตามวิธีการดังต่อไปนี้ การผ่าตัด เช่น ปัญหาที่พบได้บ่อยหลังป่วยด้วย Cystic Fibrosis คือ เผชิญกับโรคทางเดินหายใจติดเชื้อเรื้อรัง อีกทั้งยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ดังนี้ เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรมและมีการส่งต่อยีนผิดปกติกันภายในครอบครัว โรคนี้จึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถทดสอบหาความผิดปกติของยีนก่อนการตั้งครรภ์ได้ โดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ส่วนผู้ที่คลอดบุตรแล้วพบว่าทารกอาจมีความผิดปกติที่เสี่ยงเป็นโรค Cystic Fibrosis ควรพาเด็กไปพบแพทย์ โดยแพทย์อาจทำการทดสอบกับทารก และควรปรึกษาแพทย์ถึงผลกระทบทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตก่อนรับการทดสอบทางพันธุกรรมเสมอ ความหมาย ซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
อาการของซิสติก ไฟโบรซิส
สาเหตุของซิสติก ไฟโบรซิส
การวินิจฉัยซิสติก ไฟโบรซิส
การรักษาซิสติก ไฟโบรซิส
ภาวะแทรกซ้อนของซิสติก ไฟโบรซิส
การป้องกันซิสติก ไฟโบรซิส