Illness name: ไวรัสโรต้า
Description: ไวรัสโรต้า เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อจากไวรัสโรต้า ไวรัสชนิดนี้มักเข้าสู่ร่างกายผ่านการนำมือ อาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง พบมากในทารกและเด็ก และมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ หากอาการไม่ดีขึ้น ท้องเสียอย่างรุนแรง หรือมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ลำตัวเย็น ปัสสาวะลดลง ตาโหล เป็นต้น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อภายใน 2-3 วัน แรกเริ่มมักอาเจียน จากนั้นอาจมีไข้ ท้องเสีย และปวดท้องตามมา โดยอาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 3-7 วัน ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโรต้ามักมีอาการไม่รุนแรงหรืออาจไม่แสดงอาการใด ๆ ทว่าหากมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนผู้ป่วยวัยทารกและวัยเด็กนั้นมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ พ่อแม่จึงควรเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงต่อไปนี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที เชื้อไวรัสโรต้าแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน โดยจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการนำนิ้วมือที่สัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก นอกจากนี้ เชื้อไวรัสโรต้ายังสามารถปะปนไปกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อตั้งแต่ในช่วงก่อนที่จะแสดงอาการป่วย และสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายต่อไปได้นานถึง 10 วันหลังหายดีแล้ว บุคคลเหล่านี้จึงกลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว โรคติดเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโรต้านั้นขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย หากมีอาการบ่งชี้ที่คาดว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ แพทย์จะเก็บตัวอย่างอุจจาระและนำไปตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยให้แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียแต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจไม่จำเป็นต้องตรวจอุจจาระ เพราะแพทย์มักแนะนำให้รักษาตามอาการที่พบ ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติได้เอง ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรประคับประคองอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นตามคำแนะนำต่อไปนี้ โดยปกติ ผู้ติดเชื้อไวรัสโรต้ามักไม่มีอาการแทรกซ้อน ทว่าผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและไม่ได้ดื่มน้ำหรือผงเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปอย่างเพียงพออาจเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้ โดยทารกและเด็กจะเสี่ยงเกิดภาวะนี้มากกว่าผู้ป่วยวัยอื่น ซึ่งหากไม่รีบรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้น การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลให้ลำไส้เกิดความเสียหายและผลิตเอนไซม์แลคเทสที่ร่างกายต้องนำไปใช้ย่อยน้ำตาลแลคโทสได้ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแพ้น้ำตาลแลคโทส ซึ่งทำให้มีอาการท้องอืด จุกเสียดท้อง และถ่ายเหลวหลังจากดื่มนม แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อและลำไส้กลับไปทำงานได้เป็นปกติแล้ว โดยในระหว่างที่มีภาวะดังกล่าว แพทย์จะแนะนำให้ดื่มนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโทสไปก่อน โรคติดเชื้อไวรัสโรต้ามีแนวทางการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ ดังนี้ สนับสนุนโดย:ความหมาย ไวรัสโรต้า
อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
การวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า