Illness name: มะเร็งอัณฑะ
Description: มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่พบในเพศชายอายุระหว่าง 15-35 ปี สาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชายและสเปิร์มที่ใช้ในการสืบพันธุ์ อาการบ่งชี้ คือมีก้อนนูนที่รู้สึกเจ็บบริเวณลูกอัณฑะ ลูกอัณฑะบวม เจ็บปวดภายในถุงอัณฑะ หรือรู้สึกหนักภายในถุงอัณฑะ ซึ่งมะเร็งอาจเกิดขึ้นกับลูกอัณฑะเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง โดยเซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่นของร่างกายได้ ประเภทของมะเร็งอัณฑะ มะเร็งอัณฑะสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่มตามเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง ดังนี้ 1. มะเร็งอัณฑะชนิดเจิมเซลล์ (Germ Cell Tumors) มะเร็งอัณฑะชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากเจิมเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ร่างกายใช้ในการผลิตสเปิร์ม โดย 95% ของผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งอัณฑะชนิดนี้ มะเร็งอัณฑะชนิดเจิมเซลล์ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ โดยส่วนใหญ่แล้วในผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะประเภทเจิมเซลล์ชนิดนอนเซมิโนมา จะพบเซลล์มะเร็งอัณฑะหลายชนิดพร้อมกัน ซึ่งในบางครั้งอาจมีเซลล์มะเร็งอัณฑะชนิดเจิมเซลล์ประเภทเซมิโนมารวมอยู่ด้วย โดยเรียกมะเร็งอัณฑะที่มีเซลล์มะเร็งหลายชนิดว่ามะเร็งรูปผสม (Mixed Germ Cell Tomours) ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะชนิดนี้จะได้รับการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะชนิดเจิมเซลล์ประเภทนอนเซมิโนมา 2. มะเร็งอัณฑะชนิดสโทรมอล (Stromal Tomors) มะเร็งอัณฑะชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากสโทรมอลเซลล์ (Stromal Cell) หรือเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือเซลล์หลักในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมะเร็งอัณฑะชนิดสโทรมอลแบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 3. มะเร็งอัณฑะทุติยภูมิ (Secondary Testicular Cancer) มะเร็งอัณฑะทุติยภูมิ คือมะเร็งอัณฑะที่เซลล์มะเร็งไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของอัณฑะ แต่เกิดขึ้นจากการลุกลามมาจากอวัยวะอื่น โดยจะเรียกชื่อตามแหล่งกำเนิดของเซลล์มะเร็ง เช่น อาการของมะเร็งอัณฑะ หากพบว่าตนเองมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของมะเร็งอัณฑะควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากการรับการรักษาที่รวดเร็วนั้นมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา โดยผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะมักจะมีอาการดังนี้ ทั้งนี้ อาการดังกล่าวไม่ใช่อาการที่บ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งอัณฑะเพียงโรคเดียว ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคชนิดอื่น ดังนั้น หากมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรักษาได้ถูกวิธีที่สุด สาเหตุของมะเร็งอัณฑะ แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งอัณฑะ แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอัณฑะสูงกว่าบุคลคลอื่น มักมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ ในปัจจุบัน นักวิจัยได้ศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซมของเซลล์ และพบว่าเซลล์มะเร็งอัณฑะส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมลำดับที่ 12 โดยร่างกายได้สร้างบางส่วนของโครโมโซมลำดับที่ 12 ขึ้นมาเกินกว่าปกติ แต่ในบางครั้งความผิดปกติของโครโมโซมก็เกิดขึ้นในโครโมโซมลำดับอื่นหรือรูปแบบอื่น เช่น การมีจำนวนโครโมโซมมากเกินกว่าปกติ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งอัณฑะ หากพบความผิดปกติของอัณฑะ เช่น อัณฑะมีก้อนนูน บวม แต่มักไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงความปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมะเร็งอัณฑะสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้ ฉะนั้นการรักษาแต่เนิ่น ๆ ขณะที่มะเร็งอยู่ในระยะต้น ๆ และยังไม่ลุกลาม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้ การวินิจฉัยมะเร็งอัณฑะมีดังนี้ เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นคือมะเร็ง แพทย์จะตรวจสอบอีกครั้งเพื่อบ่งชี้ระยะของมะเร็งที่เกิดขึ้น และเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่ โดยใช้วิธี ดังนี้ ระยะของมะเร็งอัณฑะ ระยะของมะเร็งอัณฑะที่แตกต่างกันส่งผลให้การรักษาแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ การรักษามะเร็งอัณฑะ การรักษามะเร็งอัณฑะนั้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยวิธีการรักษามะเร็งอันฑะมีดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งอัณฑะ ผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะอาจมีอาการที่นอกเหนือจากอาการบ่งชี้มะเร็งอัณฑะ หากเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นของร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไป มักจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้ถุงอัณฑะและปอด มีส่วนน้อยที่เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปยังตับ สมอง และกระดูก โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะระยะลุกลามมีดังนี้ การติดตามผลภายหลังการรักษามะเร็งอัณฑะ ภายหลังเสร็จสิ้นการรักษามะเร็งอัณฑะ แพทย์จะนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาซึ่งอาจนานต่อเนื่องหลายปี เพื่อสังเกตว่ามีสัญญาณการกลับมาของมะเร็งหรือไม่ หากผู้ป่วยพบอาการที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ดังนี้ การป้องกันมะเร็งอัณฑะ การป้องกันมะเร็งอัณฑะยังไม่มีวิธีที่เชื่อถือได้ เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดออกมาพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งอัณฑะที่แน่ชัด อีกทั้งบุคคลที่ไม่เข้าข่ายว่ามีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่ายกาย และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบความผิดปกติ เนื่องจากหากรักษาตั้งแต่เป็นมะเร็งระยะต้น ๆ จะส่งผลให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพมากกว่าในระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามความหมาย มะเร็งอัณฑะ