Illness name: โรคติดเชื้อเคลบเซลลา นิ
Description: Klebsiella Pneumoniae หรือเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนียอี เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่เมื่อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในบริเวณอื่นของร่างกายจะก่อให้เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ หนาวสั่น เวียนศีรษะหรือมีผื่น ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของการติดเชื้อจะแตกต่างไปในแต่ละคนขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ อาการของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะรุนแรงขึ้นในผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว จึงควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Klebsiella Pneumoniae สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อและเชื้อที่เป็นสาเหตุ เช่น นอกจากนี้ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ที่อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ ผิวหนังหรือทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae จะเกิดขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายทางอากาศ แต่จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง อีกทั้งอาจได้รับเชื้อจากเข็มฉีดยาเข้าเส้นเลือด การใส่ท่อหรือเครื่องช่วยหายใจและการใส่สายสวนปัสสาวะ ซึ่งมักพบการติดเชื้อได้ในสถานพยาบาลและสถานที่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งนี้ การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีภูมิคุ้นกันอ่อนแอจนไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ เช่น ผู้ที่ติดสุรา ผู้ป่วยโรคไตวาย โรคตับ โรคปอด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานและรับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เป็นต้น แพทย์จะวินิจฉัยโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจวิธีอื่นตามอาการ เช่น แพทย์จะรักษาโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ด้วยยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างยาที่นำมาใช้รักษาได้แก่ ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) หรือยากลุ่มคาบาพีเนม (Carbapenem) หากเป็นยารับประทาน ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดเนื่องจากอาการติดเชื้ออาจกลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดใช้ยาก่อนกำหนด ในกรณีที่พบว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยา แพทย์จะปรับเปลี่ยนตัวยาให้เหมาะตามผลการเพาะเชื้อที่ได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหายจากอาการติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae ได้ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการป่วยอย่างรุนแรงอยู่ก่อนแล้วและมีโรคปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อน การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ฝีในปอด เส้นเลือดอุดตันจนเกิดภาวะเนื้อเน่าตายในปอด ทำให้ปอดบางส่วนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เกิดโพรงในปอด เกิดภาวะหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด ภาวะรูเชื่อมระหว่างหลอดลมและช่องเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ และภาวะติดเชื้ออื่นร่วม เป็นต้น การติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae สามารถป้องกันได้โดยการล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร ก่อนใช้มือสัมผัสตา ปาก หรือจมูก ก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าพันแผล หลังเข้าห้องน้ำ หลังการจาม ไอ หรือสั่งน้ำมูก และหลังสัมผัสวัตถุที่อาจปนเปื้อนเชื้ออย่างสิ่งของในโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดังนี้ความหมาย โรคติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมเนียอี (Klebsiella Pneumoniae)
อาการของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae
สาเหตุของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae
การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae
การรักษาโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae
ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae
การป้องกันโรคติดเชื้อ Klebsiella Pneumoniae