Illness name: dysphagia ภาวะกลืนลำบาก
Description: Dysphagia (ภาวะกลืนลำบาก) เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหารหรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น โดยบางรายไม่สามารถกลืนได้เลย หรืออาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอหรือสำลักขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม รู้สึกคล้ายมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก เป็นต้น อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะ Dysphagia ได้แก่ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมีปัญหาในการกลืนอยู่บ่อยครั้ง หรือมีอาการคล้ายภาวะ Dysphagia โดยเฉพาะน้ำหนักตัวลด มีอาหารไหลย้อนกลับ หรืออาเจียน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อไปได้ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการไปกระทบต่อการหายใจ และรู้สึกเหมือนมีอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก ต้องไปพบแพทย์ทันที สาเหตุของ Dysphagia หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการกลืนนั้นมีความซับซ้อน บางครั้งจึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ นอกจากนั้น บางปัจจัยอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะ Dysphagia ได้ อย่างการมีอายุมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดการสึกหรอของหลอดอาหาร หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน รวมถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท เป็นต้น แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดและตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยภาวะ Dysphagia รวมถึงอาจทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในการกลืน ดังนี้ ภาวะกลืนลำบากจากหลอดอาหารผิดปกติ อาจทำการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะกลืนลำบากจากความผิดปกติบริเวณคอหอยส่วนบน แพทย์อาจแนะนำให้รักษาเกี่ยวกับการพูด การกลืน และอาจมีการบำบัดอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภาวะกลืนลำบากจากสาเหตุอื่น แพทย์อาจผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยบางรายหากภาวะ Dysphagia เกิดจากการอุดกั้นหรือการตีบแคบที่คอ เป็นอัมพาตบริเวณเส้นเสียง มีกระดูกใหญ่กว่าปกติ มีการโป่งพองของหลอดอาหารออกเป็นกระเปาะ โรคอะคาเลเซีย หรือมะเร็งกล่องอาหาร ทั้งนี้ ผู้ป่วยมักต้องฝึกการพูดและการกลืนเพื่อฟื้นฟูหลังการผ่าตัดด้วย อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีภาวะ Dysphagia ขั้นรุนแรงจนได้รับอาหารหรือน้ำไม่เพียงพอ แพทย์อาจต้องรักษาเสริมด้วยการให้อาหารเหลวชนิดพิเศษ เพื่อช่วยรักษาระดับน้ำหนักตัวและป้องกันภาวะขาดน้ำหรืออาหาร รวมทั้งอาจให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ ดังนี้ Dysphagia อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ และน้ำหนักตัวลดเนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารหรือน้ำไม่เพียงพอ ปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration Pneumonia) เพราะอาหารอาจนำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ปอด รวมทั้งอาการสำลักเนื่องจากอาหารไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งบางรายอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นต้น แม้การป้องกัน Dysphagia อาจทำได้ยาก แต่ผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงได้โดยความหมาย ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)
ทั้งนี้ ภาวะ Dysphagia อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ หรือหากเป็นติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นการติดเชื้อในทรวงอกได้อาการของภาวะกลืนลำบาก
สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก
การวินิจฉัยภาวะกลืนลำบาก
การรักษาภาวะกลืนลำบาก
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะกลืนลำบาก
การป้องกันภาวะกลืนลำบาก