Illness name: เส้นเลือดขอด
Description: เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) เป็นความปกติของหลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังที่ขยายตัวบวมออกมา และมีเลือดมาสะสมมากจนเห็นเป็นเส้นเลือดสีฟ้าหรือม่วงเข้ม เส้นเลือดขอดมักเป็นที่ขาหรือเท้า เนื่องจากการยืนเป็นเวลานานจะส่งผลให้เลือดที่ร่างกายส่วนล่างไหลย้อนกลับไปที่หัวใจได้ยากขึ้น อาการของเส้นเลือดขอด ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดแรกเริ่มอาจสังเกตจากเส้นเลือดผ่านผิวหนัง โดยเห็นเป็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา หรือปรากฎเป็นสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา จากนั้นอาการเจ็บปวดหรืออาการอื่น ๆ จึงตามมา ได้แก่ ทั้งนี้เส้นเลือดขอดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ขา โดยเกิดได้ทั้งบริเวณน่องหรือด้านในของขา แต่บางครั้งเส้นเลือดขอดก็อาจเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่นของร่างกายเช่นกัน เช่น บริเวณหลอดอาหาร มดลูก ช่องคลอด เชิงกราน และช่องทวารหนัก สาเหตุของเส้นเลือดขอด เส้นเลือดขอดมักเกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือดที่อ่อนแอ เนื่องจากภายในหลอดเลือดจะมีลิ้นเล็ก ๆ คอยเปิดให้เลือดไหลผ่านแล้วปิดป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปสู่ส่วนล่างของร่างกาย ผนังหลอดเลือดที่บางครั้งอาจขยายตัวออกจนสูญเสียความยืดหยุ่นเป็นสาเหตุให้ลิ้นที่คอยเปิดปิดนี้อ่อนแอลง เมื่อลิ้นหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงทำให้เลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไปที่ส่วนล่างของร่างกาย ส่งผลให้เลือดสะสมในหลอดเลือดและเกิดอาการบวมพองตามมา สาเหตุที่ผนังหลอดเลือดยืดขยายตัวจนลิ้นเปิดปิดหลอดเลือดอ่อนแอลงนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดดังต่อไปนี้ นอกจากสาเหตุและปัจจัยข้างต้น ผู้ป่วยบางรายที่เป็นเส้นเลือดขอดอาจมีสาเหตุจากภาวะอื่น ๆ เช่น เคยเกิดลิ่มเลือดอุดตัน อาการบวมหรือมีเนื้องอกในเชิงกราน หรือหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เป็นต้น การวินิจฉัยเส้นเลือดขอด แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกายโดยตรวจดูขาขณะยืนเพื่อสังเกตอาการบวม รวมทั้งสอบถามว่ามีอาการเจ็บใด ๆ ที่ขาหรือไม่ จากนั้นอาจทำอัลตราซาวด์โดยใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนบริเวณดังกล่าวเพื่อดูลักษณะการไหลของเลือดในเส้นเลือด รวมทั้งหาร่องรอยการสะสมของลิ่มเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของการบวมและเจ็บดังกล่าว นอกจากนี้ บางครั้งการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด (Angiogram) ก็เป็นอีกวิธีที่แพทย์อาจนำมาประเมินการเกิดเส้นเลือดขอดให้แน่ชัดยิ่งขึ้น โดยจะฉีดสารทึบรังสีชนิดพิเศษเข้าไปในขาและเอกซเรย์ดูบริเวณดังกล่าว ภาพเอกซเรย์ที่ปรากฏจะเห็นเป็นสารทึบรังสีเพื่อให้แพทย์มองเห็นการไหลเวียนของเลือดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้การตรวจด้วยการอัลตราซาวด์และเอกซเรย์หลอดเลือดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการตรวจเพื่อช่วยยืนยันว่าอาการเจ็บและบวมที่เกิดขึ้นที่ขาเป็นอาการจากเส้นเลือดขอด ไม่ได้เกิดจากลิ่มเลือดหรือสิ่งอุดตันใด ๆ การรักษาเส้นเลือดขอด ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาหากไม่มีอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของเส้นเลือดขอดจะทุเลาลงเองได้ใน 3-12 เดือนหลังคลอดบุตร ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดขอดอาจป้องกันไม่ให้มีเส้นเลือดขอดเพิ่มขึ้นด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยเส้นเลือดขอดที่จำเป็นต้องการรักษา เบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำให้ใส่ถุงน่องสำหรับรักษาเส้นเลือดขอดก่อนรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ โดยใส่รัดขาไว้ตลอดวัน เพื่อช่วยบีบไล่ให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อขาพาเลือดเคลื่อนตัวกลับสู่หัวใจได้ดียิ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยเส้นเลือดขอดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยตนเองหรือการใช้ถุงน่องรัดขา หรือมีอาการเส้นเลือดขอดที่รุนแรงกว่านั้นอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ถึงวิธีการรักษาต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดส่วนใหญ่มักไม่มีการพัฒนาต่อไปเป็นภาวะแทรกซ้อน หากมีก็อาจใช้เวลาหลายปี ซึ่งเส้นเลือดขอดที่เป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดลดลงนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาดังนี้ ไม่เพียงเท่านี้ การมีลิ่มเลือดยังอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดขาอุดตัน โดยผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดใกล้ผิวหนังถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถพัฒนาไปสู่ภาวะนี้ และเกิดความรู้สึกเจ็บ บวมที่ขา หรืออาจกลายไปเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด การป้องกันเส้นเลือดขอด การเกิดเส้นเลือดขอดไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดการตึงของกล้ามเนื้อที่มีปฏิบัติดังนี้ความหมาย เส้นเลือดขอด