Illness name: หูตึง
Description: หูตึง เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยอาจเกิดขึ้นช้า ๆ หรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากหลายสาเหตุ เช่น อายุมากขึ้น ได้ยินเสียงที่ดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีภาวะที่ส่งผลกระทบต่อหู หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจป้องกันอาการหูตึงได้โดยการแคะหูหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง แต่หากภาวะดังกล่าวเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยอาจไม่สามารถป้องกันและรักษาอาการให้หายขาดได้ แต่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังหรือเข้ารับการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ได้ยินเสียงชัดเจนยิ่งขึ้นได้ อาการหูตึง อาการของหูตึงอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรืออาจเกิดขึ้นอย่างถาวรได้ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ สาเหตุของหูตึง หูตึงอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การวินิจฉัยอาการหูตึง เมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์อาจสอบถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและอาการของผู้ป่วย จากนั้นอาจตรวจร่างกายและตรวจดูที่หูของผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของอาการ โดยอาจดูว่ามีขี้หูอุดตัน ติดเชื้อในหู หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายในหูหรือไม่ จากนั้นอาจตรวจการได้ยินทั่วไป โดยแพทย์อาจทดสอบว่าผู้ป่วยสามารถได้ยินเสียงกระซิบหรือเสียงเบา ๆ อย่างเสียงถูมือได้ดีเพียงใด นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจด้วยหูฟัง ตรวจด้วยส้อมเสียง ตรวจหูชั้นกลาง การรักษาอาการหูตึง การรักษาอาการหูตึงอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ซึ่งอาจทำได้ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนของอาการหูตึง อาการหูตึงมักส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย โดยอาจทำให้มีปัญหาในการเข้าใจผู้อื่น และผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความเครียด รู้สึกหดหู่ หรือคิดว่าคนอื่นโกรธที่ตนเองไม่ได้ยิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่หูตึง ซึ่งบางรายก็ไม่ยอมรับว่าตนไม่ได้ยินและปฏิเสธการรักษา คนรอบข้างจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการตรวจรักษาและพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจมากขึ้น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและกลับมามีความมั่นใจในการพูดคุยอีกครั้ง การป้องกันอาการหูตึง อาการหูตึงที่เกิดขึ้นจากบางสาเหตุอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้ยาก อย่างไรก็ตาม วิธีดังต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหู ซึ่งอาจช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการหูตึงที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นได้ ความหมาย หูตึง
เป็นการทดสอบความสามารถในการได้ยินที่หูทีละข้าง โดยการฟังเสียงในระดับและโทนเสียงที่ต่างกันด้วยหูฟัง ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใส่อุปกรณ์ไว้ที่กระดูกหลังหู เพื่อดูว่าการสั่นของเสียงสามารถลอดผ่านเข้าไปในหูของผู้ป่วยได้มากเพียงใด
แพทย์อาจถือส้อมสำหรับทดสอบการได้ยินไว้ที่หูทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย จากนั้นจึงเคาะส้อมเสียง แล้วสอบถามว่าผู้ป่วยได้ยินเสียงของส้อมหรือรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนในหูแต่ละข้างหรือไม่
เป็นการใส่อุปกรณ์ตรวจเข้าไปในหูของผู้ป่วย ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะสร้างแรงดันที่ทำให้แก้วหูเกิดการสั่นสะเทือน