Illness name: ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก
Description: ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile Rheumatoid Arthritis: JRA) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบที่บริเวณข้อต่อ สามารถเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ข้อ หรือเกิดขึ้นกับข้อต่อได้ทั่วร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ตาอักเสบ หรือส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผู้ป่วย การรักษาทำได้โดยควบคุมและบรรเทาอาการ รวมถึงปรับปรุงและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อ มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีและพบได้ในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กจะแตกต่างจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในผู้ใหญ่ ตรงที่ผู้ป่วยเด็กบางคนจะไม่พบอาการของโรคแล้วเมื่อโตขึ้น แต่ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่มักจะยังมีอาการของโรคต่อไป และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่วนมากจะมีสารเคมีของระบบภูมิคุ้มกันที่มีชื่อว่ารูมาตอยด์แฟคเตอร์ (Rheumatoid Factor) ในเลือด แต่จะพบได้น้อยในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก ซึ่งหมายถึงโอกาสในการเกิดโรคต่อไปเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก อาการที่พบได้มากในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก คือ อาการบวม ปวด หรือตึงที่บริเวณข้อ อาจมีอาการเพียงข้อเดียว หลายข้อ หรือทั่วร่างกาย ซึ่งมักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำเป็นเวลาอย่างน้อยประมาณ 6 เดือน และอาการจะแย่ลงในช่วงเช้าหรือหลังจากตื่นนอน รวมถึงสามารถพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์หากพบว่าบุตรหลานมีอาการปวด บวม หรือตึงที่บริเวณข้อ ที่มีอาการนานกว่า 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะหากมีอาการปวดร่วมกับมีไข้ ประเภทของข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก 7 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ สาเหตุของข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยทำร้ายเซลล์และเนื้อเยื่อของตัวเองแทนการกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ดูเหมือนว่าการกลายพันธุ์ของยีนจะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค และมีปัจจัยเสริมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ติดเชื้อไวรัสไปกระตุ้นร่วมด้วย การวินิจฉัยข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก การวินิจฉัยจะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติทางการแพทย์ หรือตรวจร่างกายของผู้ป่วย รวมถึงอาจมีการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ การรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก การรักษามีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมและเข้าสังคมได้ตามปกติ โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น การป้องกันข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก ในปัจจุบันข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อเป็นแล้วผู้ปกครองสามารถช่วยบุตรหลานรับมือกับโรคได้ด้วยการปฏิบัติเลี้ยงดูให้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ ในบ้าน ให้กำลังใจ อธิบายสาเหตุของโรค คอยรับฟังปัญหาหรือความในใจ และแจ้งให้คุณครูทราบเกี่ยวกับอาการและเงื่อนไขของบุตรหลาน รวมถึงสามารถลดหรือบรรเทาผลกระทบจากโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก