Illness name: โรคผื่นระคายสัมผัส contact dermatitis
Description: Contact Dermatitis หรือโรคผื่นระคายสัมผัส คืออาการผื่นแดงบนผิวหนังที่มักทำให้รู้สึกคันและไม่สบายตัว โดยมักเกิดหลังจากผิวหนังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารบางอย่างที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ในกรณีที่ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลายอาจทำให้เกิดอาการผื่นคันขึ้นได้ง่ายขึ้น Contact Dermatitis ไม่ใช่โรคติดต่อและไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หากทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้นร่วมกับการดูแลตัวเองจะช่วยให้อาการดีขึ้น โดยทั่วไป ผื่นคันบนผิวหนังจะหายดีภายในระยะเวลาประมาณ 2–4 สัปดาห์ Contact Dermatitis จะเกิดบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับสารก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองโดยตรง โดยมากมักเกิดผื่นคันทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังสัมผัสสารดังกล่าว และอาการอาจคงอยู่เป็นระยะเวลา 2–4 สัปดาห์ อาการของโรคอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง โดยอาการทั่วไปที่พบได้มีดังนี้ หากผู้ป่วยสัมผัสสารที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง อย่างสบู่หรือผงซักฟอก อาการมักปรากฏหลังสัมผัสสารเหล่านี้บ่อยครั้ง แต่หากผื่นคันเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ อย่างเครื่องสำอางหรือเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ อาการอาจเกิดในระยะเวลา 2–3 วัน ในกรณีที่มีผื่นคันเกิดขึ้นและลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าหรืออวัยวะเพศ อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ หรืออาการข้างต้นส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือความมั่นใจของผู้ป่วย ควรไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรง Contact Dermatitis เกิดจากการสัมผัสกับสารบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้บนผิวหนัง โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ดังนี้ ผื่นระคายสัมผัสชนิดนี้พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากผิวหนังปกติมีปฏิกิริยาต่อสารบางชนิดที่ทำลายผิวหนังชั้นนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิว ตัวอย่างสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองมีดังนี้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่ครั้งแรกที่สัมผัสสารหรืออาจมีอาการหลังสัมผัสสารเหล่านี้เป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพพนักงานทำความสะอาด ช่างเสริมสวย บุคลากรทางการแพทย์ ช่างยนต์ หรือเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ร่างกายของผู้ป่วยบางรายอาจสร้างภูมิต้านทานต่อสารระคายเคืองขึ้นได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป เมื่อผิวหนังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะตอบสนองโดยปล่อยสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ (Inflamatory Chemicals) อย่างฮิสตามีน (Histamine) ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้และคัน ตัวอย่างสารก่อภูมิแพ้ที่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองมีดังนี้ ตามปกติแล้ว อาการคันจะเกิดเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ โดยอาจมีอาการทันทีหากสัมผัสสารที่กระตุ้นการแพ้อย่างรุนแรง หรืออาจมีอาการเมื่อสัมผัสบ่อยครั้งหรือเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ หากร่างกายเกิดการแพ้ขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว แม้จะสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อยก็อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ขึ้นได้ แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและคนในครอบครัว รวมทั้งสิ่งของหรือปัจจัยที่ผู้ป่วยสงสัยว่าอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เช่น เครื่องสำอาง สัตว์เลี้ยง กิจกรรมหรืออาชีพที่ทำ จากนั้นแพทย์จะตรวจผิวหนังบริเวณที่มีผื่นคัน และอาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยใช้วิธีการทดสอบสารที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส (Patch Tests) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดหรือมีผื่นแพ้ขึ้นซ้ำบ่อยครั้ง แพทย์มักแนะนำให้ทดสอบหาสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยจะปิดพลาสเตอร์ไว้ที่บริเวณหลังของผู้ป่วยและทาสารเคมีต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นสูงในปริมาณเล็กน้อยลงบนผิวหนัง ก่อนจะทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 วัน โดยระมัดระวังไม่ให้โดนน้ำ และควรเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกหรืออยู่ในที่ที่อากาศร้อน จากนั้นแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาวินิจฉัยหาสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อีกครั้ง โดยทั่วไป Contact Dermatitis อาจดีขึ้นได้เองหลังจากผิวหนังไม่ได้สัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทั้งนี้ การดูแลตนเองและการใช้ยาจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ผู้ป่วยอาจใช้วิธีการดูแลตนเองเพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองและบรรเทาอาการอักเสบของผิว ดังนี้ ยาที่ใช้ในการรักษา Contact Dermatitis ประกอบด้วยยาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและยาใบสั่งของแพทย์ ดังนี้ โดยทั่วไป Contact Dermatitis มักไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในบางกรณีที่ผิวหนังบริเวณที่มีอาการเริ่มมีหนองไหลซึมออกมาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เนื่องจากเป็นสภาวะที่เชื้อราและแบคทีเรียเติบโตได้ดี Contact Dermatitis ป้องกันได้ด้วยการตรวจหาสาเหตุของอาการแพ้และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อความระคายเคืองนั้น ๆ แต่หากเผลอสัมผัสสารที่ตนเองแพ้ ควรรีบล้างทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่ที่อ่อนโยนและน้ำอุ่นทันที เพื่อป้องกันการเกิดผื่นคันบนผิวหนัง อย่างไรก็ตาม หากไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ อาจป้องกันตนเองด้วยวิธีต่อไปนี้ความหมาย โรคผื่นระคายสัมผัส (Contact Dermatitis)
อาการของ Contact Dermatitis
สาเหตุของ Contact Dermatitis
ผื่นระคายสัมผัสจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis)
ผื่นระคายสัมผัสจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergic Contact Dermatitis)
การวินิจฉัย Contact Dermatitis
การรักษา Contact Dermatitis
การดูแลตนเอง
การใช้ยา
ภาวะแทรกซ้อนของ Contact Dermatitis
การป้องกัน Contact Dermatitis