Illness name: รังแค
Description: รังแค (Dandruff) เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับหนังศีรษะและพบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย ก่อให้เกิดอาการคัน หนังศีรษะแห้ง และมีลักษณะเป็นสะเก็ดสีขาว แบน และบางที่เส้นผมหรือหนังศีรษะ โดยมักจะพบเห็นและสังเกตสะเก็ดขาวนี้ได้บริเวณบ่าที่ร่วงหล่นลงมาจากศีรษะ อย่างไรก็ตาม รังแคไม่ใช่โรคติดต่อและไม่เป็นอันตราย และส่วนใหญ่สามารถรักษาและควบคุมอาการได้ไม่ยาก อาการของรังแค รังแคมีอาการที่สำคัญ ได้แก่ เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์ ? โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีรังแคไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ เพราะสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง แต่หากรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น หรือพบว่าหนังศีรษะมีอาการแดงหรือบวม ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) หรือภาวะอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกับรังแค ในกรณีนี้ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์โรคผิวหนัง สาเหตุของรังแค โดยปกติผิวหนังของคนเราจะมีการสร้างและผลัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งรังแคจะเกิดขึ้นเมื่อวงจรการสร้างและผลัดเซลล์ผิวดังกล่าวเร็วกว่าปกติ ทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วก่อตัวเป็นแผ่นและเป็นสะเก็ด โดยอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเป็นรังแคเพิ่มขึ้น การวินิจฉัยรังแค การวินิจฉัยรังแค สามารถทำได้โดยแพทย์โรคผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยได้จากการตรวจดูที่เส้นผมหรือหนังศีรษะ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะทางผิวหนัง เช่น ภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) หรือโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีความรุนแรงกว่ารังแคทั่วไป หรือผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ขจัดรังแคมาใช้เองและไม่ทำให้อาการดีขึ้น ควรจะได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์โรคผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะสามารถตรวจหาสาเหตุ พร้อมให้คำแนะนำและให้การรักษาที่เหมาะสมได้ การรักษารังแค การรักษาด้วยตนเอง การรักษารังแคสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถซื้อแชมพูขจัดรังแคจากร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป โดยใช้แชมพูที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดรังแค ควรอ่านฉลากให้ละเอียดและหากมีข้อสงสัยควรสอบถามกับเภสัชกรให้เข้าใจ ควรลองใช้แชมพูให้หลากหลายชนิดและใช้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ทราบว่าชนิดใดเหมาะสมกับตนเองที่สุด เมื่อพบว่าอาการดีขึ้นแล้วก็อาจใช้น้อยครั้งลงได้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ทันทีเพราะอาจทำให้เป็นรังแคได้อีกครั้ง การรักษาโดยแพทย์ โดยปกติไม่จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเกิดปัญหาต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา แพทย์จะเริ่มต้นรักษาด้วยการวินิจฉัย ตรวจดูสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดรังแค โดยหากพบว่ามีอาการรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาขจัดรังแคที่มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ซื้อใช้เอง เช่น โลชั่น แชมพู ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าว กรดซาลิไซลิก ร่วมกับสเตียรอยด์ หรืออาจจำเป็นต้องใช้ยาอื่น ๆ เช่น แชมพูต้านเชื้อรา ยาคอร์ติโซนใช้เฉพาะที่ ยาชนิดโฟม ยาสารละลาย ยาครีมหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของรังแค รังแคไม่ได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญใจจากอาการคันหนังศีรษะ และเนื่องจากรังแคสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายบริเวณบ่าและไหล่ หรือที่หนังศีรษะ จึงอาจทำให้ผู้ที่เป็นเสียความมั่นใจและทำให้เสียบุคลิกได้ นอกจากนั้น รังแคยังเป็นเป็นภาวะเรื้อรังที่รักษาได้ยากหรือรักษาไม่หายขาดในบางราย การป้องกันรังแค การป้องกันรังแคสามารถทำได้ไม่ยาก ด้วยวิธีดูแลตนเองดังต่อไปนี้ความหมาย รังแค