Illness name: angina pectoris
Description: Angina Pectoris เป็นอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง เมื่อหัวใจขาดเลือดจึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบหรือเหมือนมีน้ำหนักมากดทับบริเวณหน้าอก โดยอาการอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างออกแรงหรืออาจเกิดในขณะหยุดพักหากโรคมีความรุนแรง ในบางครั้งอาการเหล่านี้อาจหายไปได้เอง แต่ในบางกรณีก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจและรีบไปพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคนี้อาจทำได้ยาก เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกประเภทอื่น อย่างอาการอาหารไม่ย่อย ดังนั้น หากมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป อาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ รู้สึกเจ็บแน่นเหมือนถูกกดหรือบีบเค้นบริเวณหน้าอก มักเกิดบริเวณกลางหน้าอกหรืออกฝั่งซ้าย รู้สึกปวดร้าวไปที่คอ กราม ไหล่ หรือแขนทั้งสองข้าง โดยเฉพาะร่างกายฝั่งด้านซ้าย หายใจได้สั้นลง มีเหงื่อออกมามาก รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนแรง เวียนศีรษะ รวมถึงอาจรู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน Angina Pectoris สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ หากพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าเป็นอาการ Angina Pectoris ประเภทใดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอาจมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้ Angina Pectoris ส่วนมากมักเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเมื่อไขมันจับตัวสะสมเป็นคราบตะกรันหรือพลัค (Plaque) ในหลอดเลือดแดง จะทำให้การไหลเวียนเลือดเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดตัน และทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง หัวใจจึงต้องทำงานโดยขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น ในบางกรณีอาจเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงจนนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิด Angina Pectoris ได้ แต่มักพบได้น้อย ได้แก่ การอุดตันของหลอดเลือดแดงในปอด (Pulmonary Embolism) กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Aortic Stenosis) เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจเกิดการฉีกขาด (Aortic Dissection) เป็นต้น ทั้งนี้ Angina Pectoris จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติเมื่อร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น เช่น เมื่อออกกำลังกายหรือเมื่อต้องใช้แรง แต่ขณะที่หยุดพัก กล้ามเนื้อหัวใจจะต้องการออกซิเจนน้อยลง จึงไม่ไปกระตุ้นการเกิด Angina Pectoris มากนัก ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิด Angina Pectoris เช่น แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติทางการแพทย์หรือบุคคลในครอบครัวที่อาจพบว่าสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด Angina Pectoris รวมทั้งทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นและอาจมีการตรวจเพิ่มเติมดังนี้ การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี โดยจะแตกต่างกันไปตามประเภทและระดับความรุนแรงของโรค เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการลง รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและการเสียชีวิตได้ การรักษาสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ หากผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยรักษาโรคได้ หรือหากมีอาการร้ายแรงก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้ สามารถทำได้โดย หากใช้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยาในการรักษา ได้แก่ยาดังต่อไปนี้ หากรักษาด้วยการใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาการอุดตันของหลอดเลือดแดงด้วยวิธีการผ่าตัด ได้แก่ Angina Pectoris มักเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจบางส่วนได้รับเลือดไม่เพียงพอและเกิดอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย รวมทั้งอาจทำให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างการเดินเกิดความไม่สะดวกหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดตามมา Angina Pectoris อาจไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง แต่การหมั่นดูแลสุขภาพจะช่วยชะลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ความหมาย Angina Pectoris
อาการของ Angina Pectoris
สาเหตุของ Angina Pectoris
การวินิจฉัย Angina Pectoris
การรักษา Angina Pectoris
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การรักษาโดยใช้ยา
การรักษาโดยวิธีการทางการแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนของ Angina Pectoris
การป้องกัน Angina Pectoris