Illness name: ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซี

Description:

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
  • ความหมาย
  • อาการของธาลัสซีเมีย
  • สาเหตุของธาลัสซีเมีย
  • ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมีย
  • การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย
  • การรักษาธาลัสซีเมีย
  • การป้องกันธาลัสซีเมีย

ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

Share:

ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมียที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยนั้น หากผู้ป่วยมีภาวะซีดมากจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย และมีปัญหาเกี่ยวกับตับ รวมทั้งติดเชื้อในผู้ป่วยได้ง่าย นอกจากนี้ยังปรากฏภาวะแทรกซ้อนอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • ได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป ผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะได้รับธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจากการได้รับเลือดที่ต้องทำอยู่สม่ำเสมอ หากผู้ป่วยได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป อาจทำลายหัวใจ ตับ และระบบต่อมไร้ท่อซึ่งครอบคุลมต่อมผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายด้วย แพทย์จึงต้องมีการติดตามปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายและอาจพิจารณาให้ใช้ยาขับธาตุเหล็กร่วมด้วย
  • ติดเชื้อในร่างกาย ผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อสูง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรับการผ่าตัดม้ามออกไป

นอกจากภาวะแทรกซ้อนตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียอย่างรุนแรงสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • กระดูกผิดรูป ภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมียทำให้ไขกระดูกของผู้ป่วยทำงานหนักขึ้น ขยายกว้าง ซึ่งส่งผลให้กระดูกกว้างขึ้นและเป็นเหตุให้โครงสร้างกระดูกผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกทำให้กระดูกผิดรูป จะเกิดขึ้นมากเป็นพิเศษที่บริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ นอกจากนี้ ไขกระดูกที่ขยายออกยังทำให้กระดูกบางและเปราะง่าย เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเสี่ยงกระดูกหักมากขึ้น
  • ม้ามโต ผู้ป่วยธาลัสซีเมียมักประสบภาวะม้ามโต (Splenomegaly) เนื่องจากโรคนี้ทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดพยาธิสภาพ ขาดความยืดหยุ่นและมักจะถูกม้ามทำลายมากขึ้น ต้องขยายใหญ่ขึ้นและทำงานหนักขึ้น จนกลายเป็นภาวะม้ามโต นอกจากนี้ ภาวะม้ามโตยังทำให้อาการโลหิตจางแย่ลงกว่าเดิม รวมทั้งลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกายให้ใช้งานไม่ได้ โดยแพทย์จะผ่าตัดม้ามออกไป (Splenectomy) ในกรณีที่ผู้ป่วยประสบภาวะม้ามโตอยู่เรื่อย ๆ
  • เจริญเติบโตช้า ภาวะโลหิตจางเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียเจริญเติบโตช้า ทั้งนี้ รวมไปถึงการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่ช้ากว่าปกติด้วย
  • ประสบปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีอาการของโรครุนแรงมักมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเป็นภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias)
สาเหตุของธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)