Illness name: การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย

Description:

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
  • ความหมาย
  • อาการของธาลัสซีเมีย
  • สาเหตุของธาลัสซีเมีย
  • ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมีย
  • การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย
  • การรักษาธาลัสซีเมีย
  • การป้องกันธาลัสซีเมีย

การวินิจฉัยธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

Share:

การวินิจฉัยธาลัสซีเมียมักเริ่มตรวจตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์หรือหลังเด็กคลอดออกมาแล้ว โดยเฉพาะกรณีที่พ่อแม่ป่วยหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย การวินิจฉัยธาลัสซีเมียเบื้องต้นมักใช้วิธีตรวจเลือด หรือตรวจคัดกรองเลือดของมารดาว่ามีโอกาสเป็นพาหะและเสี่ยงจะมีลูกป่วยเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ โดยตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ปริมาณฮีโมโกลบิน ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมถึงตรวจดีเอ็นเอเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นธาลัสซีเมียหรือพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ ทั้งนี้ ผลตรวจเลือดของผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะมีลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เล็กและซีดกว่าปกติ รวมทั้งมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในระดับต่ำ รูปร่างและขนาดแตกต่างหลากหลาย และการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่สม่ำเสมอ

หากพบว่าคู่สามีภรรยาเป็นธาลัสซีเมียหรือพาหะธาลัสซีเมียทั้งคู่ แพทย์จะพิจารณาตรวจวินิจฉัย โดยมีขั้นตอนการวินิจฉัยธาลัสซีเมียแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจได้ ดังนี้

การตรวจระหว่างตั้งครรภ์ การวินิจฉัยธาลัสซีเมียสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ เพื่อหาว่าเด็กป่วยเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่และรุนแรงแค่ไหน การทดสอบเพื่อวินิจฉัยสำหรับทารกในครรภ์นั้นประกอบด้วย

  • การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมจากรกเด็ก (Chorionic Villus Sampling: CVS) แพทย์จะนำรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม โดยจะทำการทดสอบเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์
  • การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะทารกในครรภ์ (Amniocentesis) แพทย์จะนำตัวอย่างน้ำคร่ำซึ่งอยู่รอบ ๆ ตัวทารกไปตรวจ โดยจะทำการทดสอบนี้เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 16
  • การสกรีนระหว่างเด็กอยู่ในครรภ์ สตรีมีครรภ์เข้ารับการสกรีนเพื่อตรวจดูว่าเด็กในท้องเสี่ยงที่จะเกิดมาและป่วยเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่โดยการสกรีนนั้นจะทำการตวรจก่อนที่จะมีอายุครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ เพื่อให้คุณพ่อและคุณแม่มีเวลาตัดสินใจว่าจะทำการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ในกรณีที่เด็กจะป่วยเป็นธาลัสซีเมียเมื่อเกิดมา

การตรวจหลังเด็กคลอดออกมาแล้ว ทารกแรกเกิดทุกรายไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมีย เนื่องจากผลตรวจเลือดที่ได้จากการตรวจทารกหลังคลอดนั้นไม่น่าเชื่อถือเสมอไป อีกทั้งอาการของโรคก็ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงนัก อย่างไรก็ตาม อาจมีการตรวจเลือดทารกในบางรายหากพ่อแม่เด็กป่วยหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หรือทารกมีอาการซีด และหากเกิดอาการของโรคธาลัสซีเมียภายหลังก็สามารถตรวจเลือดได้เช่นกัน

การตรวจเมื่อเด็กมีอาการซีด การตรวจนี้จะวินิจฉัยจากการทดสอบเลือด โดยแพทย์จะนำตัวอย่างเลือดผู้ป่วยมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบว่าผู็ป่วยมีภาวะโลหิตจางและมีลักษณะฮีโมโกลบินที่ผิดปกติหรือไม่ แพทย์อาจตรวจร่างกายอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของธาลัสซีเมียที่ผู้ป่วยเป็น

ภาวะแทรกซ้อนของธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
การรักษาธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)