Illness name: ผื่นแพ้ผิวหนังเดอร์มาโ
Description: Dermatographia เป็นผื่นแพ้ผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกหรือผื่นลมพิษเรื้อรัง ผิวหนังจะไวต่อสิ่งรบกวนมากผิดปกติ แม้ถูกรอยขีดข่วนเบา ๆ อาจทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นทันที โดยอาจเกิดเป็นรอยขีดขาวบนผิวหนัง หรือมีรอยแดงและนูนขึ้นตามรอยขีดข่วน แต่รอยนูนนี้จะค่อย ๆ ยุบลงเป็นปกติภายในเวลาประมาณ 30–60 นาที Dermatographia สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่พบบ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยสาเหตุของผื่นชนิดนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อ การแพ้ การได้รับยาบางชนิด รวมทั้งอารมณ์และความเครียด ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากอาการจะดีขึ้นได้เอง แต่หากมีอาการเรื้อรังจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการ โดยปกติแล้ว อาการของ Dermatographia จะไม่เกิดขึ้นเอง แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของผิวหนังต่อการขีดข่วน เสียดสี หรือสัมผัสถูกสิ่งต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองเป็นจนกว่าจะเกิดอาการบนผิวหนัง โดยอาการที่พบได้มีดังนี้ โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักมีอาการไม่กี่นาทีหลังการเสียดสีหรือขีดข่วนที่ผิวหนัง แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเองภายใน 30 นาที ในบางกรณีอาการอาจคงอยู่หลายชั่วโมงหรือหลายวัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรังกินระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี โดยจะมีอาการอีกครั้งเมื่อผิวหนังได้รับการกระตุ้นหรือการเสียดสี หากรู้สึกว่าอาการเหล่านี้ทำให้ไม่สบายตัวและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา สาเหตุของ Dermatographia ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการที่ร่างกายปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ออกมากกว่าปกติ โดยระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างฮิสตามีนขึ้นมาเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และทำให้ผิวหนังมีรอยเส้นนูนแดง ทั้งนี้ ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเดอร์มาโทกราเฟียหรือทำให้อาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ นอกจากนี้ Dermatographia อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สภาพผิวแห้ง ชอบเกาผิวหนัง มีประวัติของโรคผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) โรคไทรอยด์เป็นพิษ มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือระบบอื่น ๆ ในร่างกาย และมีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น การวินิจฉัยภาวะเดอร์มาโทกราเฟีย แพทย์จะสอบถามอาการ การทำกิจกรรม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และตรวจผิวหนังด้วยการใช้ไม้กดลิ้นกดหรือขูดเบา ๆ บริเวณแขนหรือหลังของผู้ป่วยเพื่อตรวจดูรอยกดหรือเส้นนูนแดงบนผิวหนัง โดยทั่วไป อาการจะปรากฏให้เห็นภายในระยะเวลา 5–7 นาที ก่อนจะค่อย ๆ หายไป และแพทย์อาจตรวจผิวหนังบริเวณอื่นที่อาจมีอาการเพิ่มเติม โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดหรือเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยอาการ เนื่องจากอาการของ Dermatographia จะหายได้เองภายในระยะเวลา 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจึงอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ดังนี้ หากอาการของโรครุนแรงหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำยาต้านฮิสตามีนชนิดทาหรือชนิดรับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ยาเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) และยาเซทิริซีน (Cetirizine) ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 2–3 เดือน จึงจะช่วยป้องกันการเกิดอาการของโรคซ้ำ ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยการส่องไฟ (Phototherapy) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้รังสีในการรักษาโรคผิวหนัง อย่างโรคสะเก็ดเงิน โดยทั่วไป Dermatographia มักไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการเรื้อรังไม่หายขาด และมีอาการคงอยู่เป็นระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี ซึ่งจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย Dermatographia อาจไม่มีวิธีป้องกันได้โดยตรง แต่อาจลดความเสี่ยงของการเกิดได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ความหมาย ผื่นแพ้ผิวหนังเดอร์มาโทกราเฟีย (Dermatographia)
อาการของ Dermatographia
สาเหตุของ Dermatographia
การวินิจฉัย Dermatographia
การรักษา Dermatographia
ภาวะแทรกซ้อนของ Dermatographia
การป้องกัน Dermatographia