Illness name: โรคเบเช็ท behcets disease
Description: Behcet’s Disease หรือโรคเบเซ็ท เป็นความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อหลายตำแหน่งในร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะพบแผลอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ อย่างเยื่อบุในช่องปาก ตา ระบบประสาท เส้นเลือด ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศและข้อต่อ โดยอาการของโรคจะเกิดซ้ำ ๆ และอาการอาจรุนแรงขึ้นในบางราย Behcet’s Disease เป็นโรคที่พบได้น้อย โดยคาดกันว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่เพศชายจะมีอาการของโรคที่รุนแรงมากกว่า และอาการของโรคมักจะแสดงในช่วงอายุ 20–30 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการต่างกันไปขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิดการอักเสบ และอาการของโรคจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยตัวอย่างอาการของ Behcet's Disease ที่พบได้ เช่น แผลบริเวณปากเป็นอาการแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายและเกิดขึ้นก่อนอาการอื่น ๆ โดยในช่วงแรกจะมีแผลเกิดภายในปากหลายจุด มีลักษณะเป็นวงกลมนูนคล้ายแผลร้อนใน แต่แผลจะหายไปเองและอาจกลับมาเกิดซ้ำภายใน 1–3 สัปดาห์ มีแผลคล้ายสิวตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดการอักเสบของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เกิดรอยแดงและตุ่มนิ่มบริเวณผิวโดยเฉพาะขาช่วงด้านล่าง หรืออาจมีแผลตื้นและลึกที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด หากมีการทดสอบ Pathergy หรือการทดสอบปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังผิวหนังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยจะมีรอยนูนแดงหรือตุ่มหนองบริเวณที่ทดสอบ เกิดแผลที่อวัยวะเพศลักษณะคล้ายแผลบริเวณช่องปาก มีอาการเจ็บและอาจกลายเป็นรอยแผลเป็น โดยในเพศชายพบได้บริเวณถุงอัณฑะและในเพศหญิงพบได้บริเวณผิวด้านนอกอวัยวะเพศ มีอาการม่านตาอักเสบ เจ็บบริเวณตา ตามัวและไวต่อแสง มีน้ำตา ตาแดง และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น ผู้ป่วยมักเกิดอาการขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง และอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการข้อบวม แดง และเจ็บโดยเฉพาะบริเวณหัวเข่า ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้าและข้อสะโพก โดยอาการจะคงอยู่ประมาณ 1–3 สัปดาห์และหายไปเอง เกิดการอักเสบของหลอดเลือดที่อยู่บริเวณชั้นตื้นและชั้นลึกของผิวหนัง โดยจะมีการตีบตัน เกิดลิ่มเลือด หรืออาจหลอดเลือดถูกอุดกั้น ส่งผลให้เกิดรอยแดง มีอาการเจ็บและบวมตามแขนหรือขา กรณีที่เกิดความผิดปกติในหลอดเลือดใหญ่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เช่น หลอดเลือดโป่งพอง เกิดการตีบแคบหรืออุดตันของหลอดเลือด เป็นต้น มีแผลในระบบทางเดินอาหารคล้ายกับแผลที่เกิดบริเวณปากและบริเวณอวัยวะเพศ ทำให้ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือดหรือท้องเสีย นอกจากนี้ แผลในทางเดินอาหารอาจก่อให้เกิดเลือดออกในลำไส้หรือลำไส้ฉีกขาดซึ่งเป็นภาวะที่เป็นอันตราย เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดหัว คอแข็งหรือมีการร่างกายเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน หากหลอดเลือดบริเวณสมองเกิดการอุดตันหรือฉีกขาดอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกเหนือจากอาการที่กล่าวมา ความผิดปกติที่มีสาเหตุมาจาก Behcet's Disease อาจพบได้ในบริเวณปอด ไตหรือหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาได้เช่นกัน หากสังเกตเห็นความผิดปกติที่คล้ายกับอาการของโรค Behcet's Disease หรือพบความผิดปกติเกิดขึ้นใหม่ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัย การเกิด Behcet's Disease ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายทำลายเนื้อเยื่อที่สุขภาพดีจนเกิดการอักเสบตามมา นอกจากนี้ การติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคในผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางราย และปัจจัยจากพันธุกรรมร่วมกับสภาพแวดล้อมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการของโรคได้เช่นกัน โดยผู้ที่เสี่ยงต่อโรคมักพบในกลุ่มคนต่อไนี้ แพทย์จะวินิจฉัย Behcet's Disease จากอาการที่เกิดขึ้นและความถี่ของอาการ โดยจะตรวจร่างกายเพื่อค้นหาบาดบาดแผลภายในช่องปาก โดยเฉพาะบาดแผลที่กลับมาเกิดซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อปีร่วมกับการเกิดแผลบริเวณอื่น ๆ เช่น ผิวหนัง ตาหรืออวัยวะเพศ เป็นต้น นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจด้วยเพิ่มเติมวิธีต่าง ๆ เช่น Behcet's Disease ไม่มีการรักษาด้วยวิธีเฉพาะทาง แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บและควบคุมผื่นอักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์อาจรักษาโดยใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อควบคุมอาการในส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย และใช้ยารักษาอาการผื่นแดง โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดดังนี้ ในระหว่างที่ผู้ป่วยมีผื่นแดง แพทย์จะใช้ยาชนิดต่าง ๆ ตามความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้ กรณีที่ยารักษาเฉพาะที่ใช้ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) เพื่อไม่ให้แผลในปากและอวัยวะเพศเกิดซ้ำ และอาจช่วยบรรเทาอาการบวมบริเวณข้อ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องควบคุมความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยการใช้ยาชนิดต่าง ๆ เช่น ในการรักษาในผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาด้วยยาอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์จะใช้ยาต้านสาร TNF (Tumor Necrosis Factor: TNF) ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ยาอินฟลิซิแมบ (Infliximab) และยาอะดาลิมูแมบ (Adalimumab) เป็นต้น ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองระหว่างการรักษาได้ดังนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก Behcet's Disease แตกต่างกันไปตามอาการของแต่ละคน อย่างการมองเห็นลดลงหรือสูญเสียการมองเห็นเมื่อไม่ได้รับการรักษาภาวะม่านตาอักเสบ นอกจากนี้ การใช้ยาชนิดต่าง ๆ ในการรักษาอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการปวดหัว ผื่นผิวหนัง เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เกิดปัญหาต่อการทำงานของตับ ไต ภาวะเกล็ดเลือดต่ำและความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค ทำให้ยากต่อการป้องกัน แต่หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นคล้ายกับอาการของโรค โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อช่วยป้องกันอาการลุกลามหรือรุนแรงขึ้นกว่าเดิมกรณีที่ตรวจพบว่าเป็น Behcet's Diseaseความหมาย โรคเบเช็ท (Behcet’s Disease)
อาการของ Behcet's Disease
ปาก
ผิวหนัง
อวัยวะเพศ
ตา
ข้อต่อ
หลอดเลือด
ระบบทางเดินอาหาร
สมอง
สาเหตุของ Behcet's Disease
การวินิจฉัย Behcet's Disease
การรักษา Behcet's Disease
การรักษาอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
การรักษาอาการที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย
การดูแลตนเอง
ภาวะแทรกซ้อนของ Behcet's Disease
การป้องกัน Behcet's Disease