Illness name: amyloidosis แอมีลอยโดซิส
Description: Amyloidosis (แอมีลอยโดซิส) เป็นโรคที่เกิดจากการมีสารแอมีลอยด์ (Amyloid) เข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต ม้าม หัวใจ ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น โดยสารดังกล่าวเป็นโปรตีนผิดปกติที่ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก หากสะสมอยู่ในปริมาณมากจะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ แม้เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนการรักษา Amyloidosis นั้นมักเป็นการควบคุมอาการและจำกัดการผลิตสารโปรตีนแอมีลอยด์ โรค Amyloidosis มักไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏในช่วงแรก แต่จะเริ่มพบความผิดปกติเมื่อโรคเริ่มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบด้วย โดยอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้ เนื่องจากอาการของโรค Amyloidosis นั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจง จึงอาจพบอาการต่าง ๆ ได้ในโรคอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้น หากมีอาการข้างต้นโดยเป็นอยู่นานและไม่หายไป ควรไปปรึกษาแพทย์ โรค Amyloidosis มีสาเหตุมาจากการก่อตัวของโปรตีนผิดปกติที่ชื่อว่าแอมีลอยด์ ซึ่งสารนี้ถูกผลิตจากไขสันหลังและสามารถสะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยโรคนี้แบ่งได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะการเกิด ดังนี้ ทั้งนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงเผชิญโรค Amyloidosis เพิ่มขึ้น ได้แก่ เพศชาย ผู้ที่มีอายุ 60-70 ปี ผู้ที่เป็นโรคติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกิดการอักเสบ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ และผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต การวินิจฉัยแอมีลอยโดซิส แพทย์จะเริ่มสอบถามประวัติและตรวจร่างกาย ซึ่งอาการของ Amyloidosis อาจคล้ายกับโรคอื่น ๆ จึงเสี่ยงต่อการวินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้น แพทย์อาจทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการตรวจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย เช่น การรักษาแอมีลอยโดซิส ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่การรักษาจะเป็นการควบคุมอาการและจำกัดการผลิตโปรตีนแอมีลอยด์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของโรคด้วย ได้แก่ นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ภาวะแทรกซ้อนของ Amyloidosis จะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ เช่น Amyloidosis เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้ความหมาย แอมีลอยโดซิส (Amyloidosis)
อาการของแอมีลอยโดซิส
สาเหตุของแอมีลอยโดซิส
ภาวะแทรกซ้อนของแอมีลอยโดซิส
การป้องกันแอมีลอยโดซิส