Illness name: เยื่อบุตาอักเสบ
Description: เยื่อบุตาอักเสบ (Conjuctivitis) คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งเยื่อบุตาเป็นเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง แสบตา คันตา หรือระคายเคือง และการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาโดยแพทย์ เพราะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือบรรเทาอาการด้วยวิธีประคบเย็นหรือใช้น้ำตาเทียม อาการเยื่อบุตาอักเสบ อาการเยื่อบุตาอักเสบแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ อาการที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้
สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อของเยื่อบุตา ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสารก่อภูมิแพ้ นอกจากนั้น มีสาเหตุจากสารเคมี คอนแทคเลนส์ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าตา เชื้อรา หรือมลพิษในอากาศ เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
การวินิจฉัยเยื่อบุตาอักเสบ การวินิจฉัยด้วยตนเองในเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการสังเกตอาการ ได้แก่ ตาแดง คันตา แสบตา มีสะเก็ดของหนองที่ขนตาหรือเปลือกตา หรือตาแฉะ
แพทย์อาจวินิจฉัยเยื่อบุตาอักเสบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ โดยการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมไปถึงการตรวจตา อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยหาสาเหตุอาจทำได้ยาก เพราะอาการมักจะคล้ายกัน ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องนำตัวอย่างสารคัดหลั่งของตาไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะพิจารณาให้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการในกรณีต่อไปนี้
การรักษาเยื่อบุตาอักเสบเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำได้ดังนี้
โดยส่วนใหญ่เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะไม่มีความรุนแรงมากและหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือบางรายอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยไม่ต้องรักษา ส่วนรายที่มีความรุนแรงหรือมีสาเหตุจากโรคเริม (Herpes Simplex Virus) หรือเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสในการรักษา การรักษาเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องรักษา แต่การให้ยาปฎิชีวนะจะช่วยให้หายได้เร็วยิ่งขึ้น โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะประเภทยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตาให้กับผู้ป่วย และเมื่อเริ่มต้นใช้ยาแต่ละประเภทอาการควรจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและใช้ยาจนครบจำนวนตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำ การรักษาเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการแพ้
เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการแพ้ หายได้เองเมื่อสารก่อภูมิแพ้ถูกกำจัดออกไปจากสภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ ยาแก้แพ้และยาหยอดตาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้แบบใช้เฉพาะที่ (Topical Antihistamine) และสารบีบหลอดเลือด (Vasoconstrictors) รวมไปถึงยาหยอดตาที่สั่งโดยแพทย์ สามารถใช้บรรเทาเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการแพ้ได้ โดยแพทย์อาจมีการใช้ยาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา เช่น
ผู้ป่วยที่พบว่าเป็นเยื่อบุตาอักเสบพร้อมทั้งมีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์
โดยส่วนใหญ่เหยื่อบุตาอักเสบเป็นโรคที่สามารถหายได้เองหรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตามเยื่อบุตาอักเสบอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตา และรวมไปถึงเยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุจากโรคหนองใน คลามัยเดีย หรือการติดเชื้ออดีโนไวรัส (Adenovirus) บางสายพันธ์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อการมองเห็นได้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอาจแพร่เชื้อหรือติดจากคนสู่คนได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นเยื่อบุตาอักเสบหรือลดโอกาสไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้
ความหมาย เยื่อบุตาอักเสบ
หากพบว่าเกิดอาการใดอาการหนึ่งในข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย
ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ
เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุจากการแพ้
เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุจากสารระคายเคือง
นอกจากนั้น เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดกับเด็กแรกเกิด ซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อ การระคายเคือง หรือท่อน้ำตาอุดตัน ควรไปพบแพทย์ทันที
นอกจากนั้น แพทย์อาจให้มีการทดสอบภูมิแพ้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากอาการแพ้ เพื่อช่วยให้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ชนิดใด
การรักษาเยื่อบุตาอักเสบ
การรักษาเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์?
ภาวะแทรกซ้อนเยื่อบุตาอักเสบ
สามารถป้องกันตนเองและลดโอกาสในการติดเชื้อได้ ดังนี้
นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่เป็นเยื่อบุตาอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ เช่น