Illness name: diabetic ketoacidosis ภาวะเลือดเป็นกรด
Description: Diabetic Ketoacidosis (DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคเบาหวาน โดยจะเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ร่างกายสร้างคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดออกมาในกระแสเลือดเป็นปริมาณมาก ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากได้รับการรักษาไม่ทันเวลา อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อสร้างเป็นพลังงาน แต่เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ร่างกายจะสลายไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ทำให้เกิดการผลิตคีโตนออกมามากผิดปกติ โดยทั่วไป Diabetic Ketoacidosis มักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เอง แต่ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบางครั้งอาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง โดยอาการอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน ดังนี้ หากผู้ป่วยใช้อินซูลินอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิด Diabetic Ketoacidosis และหากมีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้ป่วยควรตรวจวัดระดับคีโตนในปัสสาวะซึ่งสามารถตรวจด้วยตนเองได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดระดับคีโตนในปัสสาวะที่หาซื้อได้ทั่วไป หากมีอาการอาเจียน ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำ ร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ หากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต สาเหตุของ Diabetic Ketoacidosis Diabetic Ketoacidosis เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดอินซูลิน ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดเป็นพลังงาน ร่างกายจึงปล่อยฮอร์โมนที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันเพื่อใช้ทดแทนน้ำตาล โดยในการเผาผลาญพลังงานนี้จะทำให้เกิดการสร้างกรดคีโตนขึ้นมา และหากคีโตนถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการสะสมในเลือด สารเคมีในเลือดจึงเสียสมดุลและกระทบต่อการระบบทำงานในร่างกาย Diabetic Ketoacidosis อาจเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่อไปนี้ นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้น รวมทั้งอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยสาเหตุอาจทำให้เกิด Diabetic Ketoacidosis ดังนี้ การตรวจเลือดใช้เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคีโตน และค่าความเป็นกรดในเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้ แพทย์อาจใช้วิธีวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยพิจารณาจากปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิด Diabetic Ketoacidosis ได้แก่ การตรวจแร่ธาตุในเลือด (Blood Electrolyte Tests) โดยเฉพาะค่าโพแทสเซียม การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) การเอกซเรย์ทรวงอก และการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) การรักษา Diabetic Ketoacidosis มักใช้วิธีการปรับระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินให้อยู่ในระดับที่ปกติควบคู่กันไป ทั้งนี้ ผู้ป่วย Diabetic Ketoacidosis อาจได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในห้องฉุกเฉินหรือนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และอาจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้ ทั้งนี้ แพทย์อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมภายหลังการรักษา เพื่อวินิจฉัยปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิด Diabetic Ketoacidosis หรือแพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาอื่นเพิ่มเติม เช่น การวางแผนการรักษาโรคเบาหวานเพื่อป้องกันการเกิด Diabetic Ketoacidosis ซ้ำอีกในภายหลัง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ Diabetic Ketoacidosis จากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วย และหากผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มเติม ภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดเป็นกรดชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้หลังได้รับการรักษา ดังนี้ หากปล่อยให้มีอาการ Diabetic ketoacidosis โดยไม่รักษา ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจยิ่งรุนแรงมากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรืออาจทำให้เสียชีวิต แม้จะป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยอื่น ๆ ได้ยาก แต่สามารถป้องกันการเกิด Diabetic ketoacidosis ได้โดยการควบคุมอาการของโรคเบาหวานอย่างเหมาะสมด้วยวิธีต่อไปนี้ แม้ Diabetic ketoacidosis อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง แต่หากมีวินัยในการดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์สั่ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวได้ความหมาย Diabetic Ketoacidosis (ภาวะเลือดเป็นกรด)
อาการของ Diabetic Ketoacidosis
การวินิจฉัย Diabetic Ketoacidosis
การตรวจเลือด
การตรวจอื่น ๆ
การรักษา Diabetic Ketoacidosis
ภาวะแทรกซ้อนของ Diabetic Ketoacidosis
การป้องกัน Diabetic Ketoacidosis