Illness name: เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis
Description: เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) เป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardium) ที่มีลักษณะเป็นถุง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ระหว่างชั้นจะมีของเหลวที่ช่วยห่อหุ้มหัวใจ ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจในขณะที่หัวใจทำงาน เมื่อเกิดการอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจจะบวมแดง และมักทำให้รู้สึกเจ็บแปลบบริเวณหน้าอกจากการเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจทั้ง 2 ชั้น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้นอย่างฉับพลันและอาการมักคงอยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่บางรายอาจเกิดอาการเรื้อรังได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการดีขึ้นได้เอง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจได้รับยาหรือรักษาด้วยการผ่าตัด หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอาจแตกต่างกัน โดยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันในบางรายอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจขาดเลือดและมีอาการคงอยู่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบโดยทั่วไปที่พบได้ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมีลักษณะอาการเป็น ๆ หาย ๆ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการซ้ำอีกในช่วง 4–6 สัปดาห์หลังมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ในกรณีที่มีอาการนานกว่า 3 เดือน จะจัดว่าเป็นอาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเรื้อรัง ทั้งนี้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน อย่างภาวะหัวใจขาดเลือดหรือลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) โดยส่วนมาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Pericarditis) หรืออาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร หรือเชื้อแบคทีเรียอย่างวัณโรค ในบางกรณีอาจเกิดจากการติดเชื้อราหรือปรสิตแต่พบได้น้อย นอกจากนี้ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากการติดเชื้อได้ ดังนี้ โดยทั่วไปแพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยการฟังเสียงหัวใจเพื่อตรวจหาความผิดปกติจากการเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจ และอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่อไปนี้ จุดประสงค์ของการรักษาคือการลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเกิดอาการซ้ำในภายหลัง โดยวิธีการรักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงนัก อาการอาจดีขึ้นได้เองหรืออาการดีขึ้นหลังการพักผ่อนและใช้ยารักษาภายในระยะเวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจเกิดอาการซ้ำอีกภายในไม่กี่เดือนหลังมีอาการครั้งแรก โดยการรักษาประกอบด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจใช้วิธีพักผ่อน รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนักเนื่องจากอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ แพทย์จะจ่ายยาเพื่อช่วยลดอาการบวมและบรรเทาการอักเสบ โดยยาที่มักใช้รักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อย่างภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) ซึ่งเป็นภาวะที่มีของเหลวปริมาณมากอยู่เยื่อหุ้มหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้ แพทย์จะใช้เข็มเจาะและใส่สายสวนดูดระบายของเหลวภายในเยื่อหุ้มหัวใจออก โดยส่วนมากมักใส่สายสวนไว้เป็นเวลา 2–3 วัน ในตำแหน่งที่ดูดระบายของเหลวออก เพื่อป้องกันการกลับมาสะสมของน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจได้อีก ซึ่งแพทย์อาจใช้เครื่องมือช่วยเข้ามาช่วย เพื่อให้เห็นภาพหัวใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) หรือเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นต้น เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจที่เสียหายทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดของหัวใจลดลง แพทย์จึงจำเป็นต้องผ่าตัดเยื่อหุ้มหัวใจที่เสียหายออกไป โดยแพทย์จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและหดตัว หรือใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ การเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้เร็ว ความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวจะลดลงตามไปด้วย โดยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่การดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยไม่หักโหม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาความหมาย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
สาเหตุของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
การวินิจฉัยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
การรักษาเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
การดูแลตนเอง
การรักษาด้วยการใช้ยา
การรักษาตัวในโรงพยาบาล
ภาวะแทรกซ้อนของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
การป้องกันเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ