Illness name: alcohol withdrawal ภาวะถอนพิษสุรา
Description: Alcohol Withdrawal หรือภาวะถอนพิษสุรา เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำหยุดดื่มแอลกอฮอล์หรือลดปริมาณการดื่มลงอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยมักแสดงอาการวิตกกังวล คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงอย่างชักหรือประสาทหลอน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ภาวะ Alcohol Withdrawal มักเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มแอลกอฮอล์ 6 ชั่วโมง หรืออาจนาน 2-3 วัน โดยผู้ป่วยมักแสดงอาการต่อไปนี้ นอกจากอาการผิดปกติข้างต้น ผู้ป่วยอาจประสบกับอาการรุนแรงที่เรียกว่ากลุ่มอาการ Delirium Tremens (DT) ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มแอลกอฮอล์ 48-72 ชั่วโมง โดยหากมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจะส่งผลให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลง ต่อมาอาจทำให้ผู้บริโภคต้องการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดการเสพติด ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากยังส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยกระตุ้นให้ร่างกายต้องการแอลกอฮอล์ตลอดเวลาและไม่สามารถปรับตัวกับการขาดแอลกอฮอล์ได้ เมื่อหยุดดื่มจึงอาจก่อให้เกิดภาวะถอนพิษสุราตามมา ผู้ที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ อาจเสี่ยงต่อภาวะ Alcohol Withdrawal มากกว่าคนทั่วไป หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการบ่งชี้ของภาวะ Alcohol Withdrawal ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดอย่างถูกต้อง โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วย ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น จากนั้นอาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ วิธีการรักษาภาวะ Alcohol Withdrawal ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการป่วยเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ โดยปกติผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol Withdrawal มักประสบกับภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่เผชิญอาการดังข้างต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะถอนแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรง หรือเกิดกลุ่มอาการ Delirium Tremens ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การป้องกันภาวะ Alcohol Withdrawal ทำได้ไม่ยาก เพียงควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และต้องไม่ดื่มในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยทั่วไปคนในวัยผู้ใหญ่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน/วัน ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมักมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน โดย 1 ดื่มมาตรฐานของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ประมาณ 10 กรัม เฉลี่ยแล้วอาจเท่ากับเบียร์ประมาณ 360 มิลลิลิตร ไวน์ประมาณ 150 มิลลิลิตร และสุราประมาณ 45 มิลลิลิตร ทั้งนี้ หากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างเสพติดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี และลดโอกาสในการเกิด Alcohol Withdrawal ตามมาความหมาย ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol Withdrawal)
อาการของภาวะถอนพิษสุรา
สาเหตุของภาวะถอนพิษสุรา
การวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรา
การรักษาภาวะถอนพิษสุรา
สามารถรักษาตัวได้ที่บ้านตามปกติ แต่ควรอาศัยอยู่กับครอบครัวหรือเพื่อน เพราะจำเป็นต้องมีคนคอยช่วยเหลือหากอาการป่วยกำเริบ และบริเวณที่อยู่อาศัยควรเงียบสงบเหมาะแก่การพักรักษาตัว นอกจากนั้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดหมายอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์มักตรวจเลือดและตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดอาการเสพติดแอลกอฮอล์ และผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องรับประทานยากล่อมประสาทเพื่อบรรเทาภาวะถอนพิษสุราควบคู่ไปด้วย
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะคอยตรวจวัดความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับสารเคมีในเลือดชนิดต่าง ๆ ซึ่งแพทย์มักให้ผู้ป่วยรับประทานยากล่อมประสาทเพื่อบรรเทาภาวะถอนพิษสุรา ส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารและยาได้ด้วยตนเอง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำและยาผ่านทางหลอดเลือดดำภาวะแทรกซ้อนของภาวะถอนพิษสุรา
การป้องกันภาวะถอนพิษสุรา