Illness name: ปวดหู
Description: ปวดหู (Earache/Ear Pain) เป็นอาการปวดบริเวณหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน อาจปวดในลักษณะตื้อ ๆ เจ็บแปลบ หรือรู้สึกแสบร้อน ซึ่งอาการปวดส่วนใหญ่จะอยู่ไม่นานแล้วค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายไป มักพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาการปวดหู ปวดหูอาจจะเกิดร่วมกับอาการอื่น แต่ละคนจะมีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดการปวด โดยส่วนใหญ่จะพบอาการ ดังนี้ นอกเหนือจากอาการข้างต้น ในเด็กเล็กอาจพบอาการอื่นได้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยสังเกตได้จาก โดยทั่วไปอาการปวดจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่ในรายที่เป็นรุนแรง เกิดขึ้นบ่อย หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน บริเวณรอบหูเกิดอาการบวม เจ็บคออย่างรุนแรง รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในหู หากผู้ป่วยบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก สาเหตุอาการปวดหู ปวดหูเกิดได้จากหลายปัจจัย เนื่องจากมีอวัยวะหลายส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องหรืออยู่ในตำแหน่งใกล้กับหู จึงอาจส่งผลกระทบต่อกัน เช่น ฟัน ข้อต่อขากรรไกร หรือลำคอ โดยแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ลักษณะ อาการปวดที่มีสาเหตุมาจากหู อาการปวดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การวินิจฉัยอาการปวดหู โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ อาการของผู้ป่วย และตรวจร่างกายทั่วไป จากนั้นจึงตรวจช่องหูด้วยอุปกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า Otoscope ทำให้ทราบถึงความผิดปกติในรูหู มีอาการบวม แดง หรือเยื่อแก้วหูเกิดความเสียหายหรือไม่ รวมไปถึงมีการตรวจดูบริเวณคอ หู หลังหู หรืออวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วย แต่ในบางรายอาจต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมหากไม่สามารถหาสาเหตุของการปวดหูได้อย่างชัดเจนหรือเกิดการติดเชื้อรุนแรง เช่น ตรวจตัวอย่างของเหลวที่ไหลออกจากหูเพื่อหาชนิดของเชื้อแบคทีเรีย การตรวจซีที สแกนที่ศีรษะ (Computed Tomography Scan: CT Scan) เพื่อดูว่าเกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลางหรือไม่ หรือตรวจการได้ยิน (Hearing Test) ในรายที่ปวดหูเรื้อรังจากการติดเชื้อ การรักษาอาการปวดหู อาการปวดหูโดยทั่วไปรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ในเบื้องต้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดหูสามารถทำตามคำแนะนำ ดังนี้ แต่ในรายที่มีอาการปวดหูจากการติดเชื้อ แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือหยอดหู บางรายอาจต้องใช้ยาทั้ง 2 ชนิด ผู้ป่วยควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามคำสั่งแพทย์ ไม่ควรปรับขนาดยาด้วยตนเองแม้ว่าอาการจะดีขึ้น เพื่อกำจัดเชื้อให้หมดไป ในกรณีอาการปวดหูอื่น ๆ จะแยกรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหู อาการปวดหูเองเป็นอาการที่มักไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ผู้ที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงจากโรคหรือความผิดปกติอาจพัฒนาให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในระยะยาวตามมาจากตัวโรคที่ไม่ได้รับการรักษา เช่น ปวดหูจากการติดเชื้ออาจทำให้เกิดภาวะมีน้ำในหูชั้นกลาง เยื่อแก้วหูทะลุ สูญเสียการได้ยิน หรือมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้อื่น การป้องกันอาการปวดหู อาการปวดหูบางอย่าง ป้องกันได้ด้วยการดูแลตนเองให้ห่างจากปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ตามคำแนะนำ ดังนี้ความหมาย ปวดหู