Illness name: ท้องนอกมดลูก
Description: ท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ (ปีกมดลูก) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญเติบโตและสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยควรสังเกตสัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก เพื่อไปพบแพทย์ให้ทันเวลา เช่น มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดไหล่ หน้ามืดเป็นลม หรือช็อค อาการของท้องนอกมดลูก ในระยะแรกของการท้องนอกมดลูก มักไม่มีอาการสำคัญที่ปรากฏ หรืออาจมีอาการที่คล้ายสัญญาณการตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น ส่วนอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูกที่มีอาการป่วยรุนแรงขึ้น และผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที เนื่องจากเนื้อเยื่ออาจก่อความเสียหายแก่ท่อนำไข่ หรือท่อนำไข่ฉีกขาด ได้แก่ สาเหตุของการท้องนอกมดลูก การท้องนอกมดลูกจะเกิดขึ้นภายในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังไข่ผสมกับสเปิร์ม โดยทั่วไปไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะอยู่ในท่อนำไข่ 3-4 วัน ก่อนเคลื่อนเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูกแล้วเกิดการตั้งครรภ์พัฒนาเป็นตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกไปเรื่อย ๆ แต่การท้องนอกมดลูกเกิดจากไข่ที่ผสมแล้วไม่เคลื่อนตัวไปยังมดลูก แต่มักฝังตัวอยู่ในบริเวณท่อนำไข่ หรือในอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อย เช่น ปากมดลูก รังไข่ พื้นที่ว่างในช่องท้อง หรือแม้แต่บริเวณรอยแผลเป็นจากการคลอดที่หน้าท้อง ส่วนปัจจัยที่ทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่เคลื่อนไปฝังตัวในมดลูกตามกระบวนการตั้งครรภ์ตามปกติ ได้แก่ การวินิจฉัยการท้องนอกมดลูก แพทย์จะซักถามประวัติอาการ การมีประจำเดือนร่วมกับการตรวจร่างกายบริเวณหน้าท้อง และการตรวจภายใน จากนั้น อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด และการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อประกอบการวินิฉัย โดยมีรายละเอียดการตรวจทดสอบดังนี้ ตรวจภายใน (Pelvic Exam) ผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงตรวจแล้วให้แพทย์ตรวจเช็คบริเวณที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือบริเวณที่อาจพบความผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่ หรือรังไข่ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือเพื่อส่องตรวจภายในผ่านทางช่องคลอดของผู้ป่วย ตรวจเลือดหาฮอร์โมน hCG และ ตรวจอัลตราซาวด์ แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin: hCG) เมื่อตรวจพบฮอร์โมนที่บ่งชี้ว่ามีการตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจบริเวณหน้าท้องแล้วฉายภาพภายในช่องท้องเพื่อหาตัวอ่อนทารกในครรภ์ที่ฝังตัวอยู่ในมดลูก หรือในระยะตั้งครรภ์สัปดาห์แรก ๆ ตัวอ่อนอาจยังคงอยู่บริเวณท่อนำไข่หรือรังไข่ซึ่งใกล้กับช่องคลอด แพทย์จึงต้องใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์ชนิดสอดเข้าไปภายในช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) หากตรวจไม่พบตัวอ่อนหรือร่องรอยของตัวอ่อน แพทย์อาจวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยกำลังท้องนอกมดลูก แต่ในบางกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบตัวอ่อนได้ด้วยอัลตราซาวด์ อาจเป็นการตั้งครรภ์ในระยะแรกเริ่ม ตัวอ่อนจึงมีขนาดเล็กมาก หรือผู้ป่วยอาจเกิดการแท้งลูก ดังนั้น หากตรวจไม่พบตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก หรือบริเวณปีกมดลูก แพทย์อาจสังเกตอาการของท่อนำไข่ว่ามีการบวม มีเนื้อเยื่อ หรือมีลิ่มเลือดอุดตันอันเกิดจากตัวอ่อนไปฝังตัวแล้วสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นหรือไม่ หากตรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ป่วยท้องนอกมดลูกหรือไม่ หรือผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายการท้องนอกมดลูกแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น มีอาการตกเลือด และเลือดไหลออกมาเป็นปริมาณมาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อตรวจดูบริเวณท่อนำไข่และอวัยวะที่ใกล้เคียง และทำการรักษาเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหายในบริเวณดังกล่าวด้วย การรักษาการท้องนอกมดลูก เมื่อตรวจพบการท้องนอกมดลูก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาการเจริญพันธุ์ในอนาคต โดยตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้อีก ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยการนำตัวอ่อนนั้นออกไป การรักษาการท้องนอกมดลูกขึ้นอยู่กับพัฒนาการของตัวอ่อนที่ฝังตัวไปแล้ว และบริเวณที่ตัวอ่อนฝังตัว โดยแพทย์จะมีวิธีการรักษาผู้ป่วยท้องนอกมดลูก ดังนี้ หลังรับการรักษา ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวภายใต้การดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว และจากนั้นผู้ป่วยควรฟื้นฟูสภาพจิตใจด้วยเช่นกัน ด้วยการพูดคุยปรึกษาและให้กำลังใจกันระหว่างคู่ครอง เมื่อผู้ป่วยพร้อมจะมีบุตรและต้องการตั้งครรภ์อีกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการมีบุตร เนื่องจากผู้ที่เคยท้องนอกมดลูกย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะอาการนี้ขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไป ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะมีบุตรยากได้ โดยแพทย์อาจให้คำแนะนำในการมีบุตรด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ที่เป็นการนำตัวอ่อนเข้าไปฝังในมดลูก โดยไม่ต้องรอให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวไปตามท่อนำไข่เข้าสู่มดลูกเองอีกต่อไป ซึ่งสามารถแก้ปัญหาตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกได้ แต่วิธีการต่าง ๆ ล้วนมีความเสี่ยงและข้อจำกัดที่ผู้ป่วยควรศึกษาและปรึกษากับแพทย์ให้ดีก่อนตัดสินใจ ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูกที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีจะไม่พัฒนาไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ผู้ป่วยท้องนอกมดลูก หรืออาจได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เนื่องจากท่อนำไข่ และอวัยวะในบริเวณที่ไข่ฝังตัวอาจเกิดความเสียหาย ฉีกขาด หรือเกิดการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการตกเลือด ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy: DIC) ภาวะช็อค และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้ การป้องกันการท้องนอกมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะนำไปสู่การท้องนอกมดลูกในที่สุดได้ เช่น นอกจากนี้ แม้ไม่สามารถป้องกันการท้องนอกมดลูกได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้อาการป่วยที่เกิดขึ้นลุกลามรุนแรงไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ด้วยการความหมาย ท้องนอกมดลูก