Illness name: takayasus arteritis
Description: Takayasu's Arteritis หรือโรคทากายาสุ คือโรคเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดหัวใจขนาดใหญ่และกลาง โดยหลอดเลือดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แขนงต่าง ๆ ของหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นหลอดเลือดหลักในการเวียนเอาเลือดออกจากหัวใจ รวมไปถึงหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังแขนและสมอง อาการอักเสบดังกล่าวส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ผนังเส้นเลือดโป่งพอง ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก มีไข้ ความดันโลหิตสูง และมีภาวะโลหิตจาง โรคทากายาสุพบมากในผู้หญิงเอเชียช่วงอายุไม่เกิน 40 ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อยับยั้งอาการอักเสบและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ การอักเสบของเส้นเลือดอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะแสดงอาการ หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาพบแพทย์ โรคทากายาสุเกี่ยวข้องกับการอักเสบของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่และขนาดกลาง ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ไหลเวียนเลือดจากหัวใจไปยังแขน ขา สมอง หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จึงไม่มีอาการของโรคที่จำเพาะชัดเจน โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นอาการเบื้องต้นของ Takayasu’s Arteritis ได้แก่ ผู้ป่วย Takayasu’s Arteritis อาจเกิดการอักเสบของเส้นเลือดขึ้นนานหลายปีแต่ไม่มีอาการผิดปกติที่แสดงออกชัดเจนก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นอาการในระยะที่ 2 ระยะที่ 2 เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดจนเส้นเลือดตีบ ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้น้อย จึงส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา ดังนี้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการหายใจสั้น เจ็บหน้าอก เจ็บบริเวณแขน หรือมีอาการที่บ่งบอกว่าเส้นเลือดเกิดการอุดตัน อย่างใบหน้าเบี้ยว แขนอ่อนแรง พูดไม่ชัดหรือพูดลำบาก ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือปวดหัวอย่างรุนแรง ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทากายาสุ ผู้ป่วยจำเป็นต้องสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาการของโรคอาจกำเริบแม้จะเข้ารับการรักษาแล้วก็ตาม การเกิดโรคทากายาสุยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้แน่ชัด แต่มักเกิดในเด็กผู้หญิงและผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเฉพาะชาวเอเชีย บางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับการส่งต่อโรคผ่านทางพันธุกรรม โดยสาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่องจนทำลายเส้นเลือดตัวเอง รวมทั้งการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อไวรัส ก็อาจเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของระบบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิจัยหรือผลการทดสอบใดที่น่าเชื่อถือมากพอมาสนับสนุนสาเหตุดังกล่าว การวินิจฉัยเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยเป็นโรคทากายาสุมีความยากและซับซ้อน เพราะแพทย์ไม่สามารถทราบได้จากการสอบถามประวัติหรือตรวจร่างกายเบื้องต้นเพียงอย่างเดียว อีกทั้งอาการของโรคอาจมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น จึงจำเป็นต้องตรวจหลายวิธีเพื่อนำผลการตรวจมาวิเคราะห์ร่วมกัน ดังนี้ นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การอัลตราซาวด์ และการตรวจการทำงานของอวัยวะทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (PET scan) เป็นต้น การรักษาจะเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อยับยั้งการอักเสบและป้องกันไม่ให้เส้นเลือดเสียหายมากกว่าเดิม โดยแพทย์อาจจ่ายยาต่อไปนี้ ในกรณีที่อาการเส้นเลือดตีบหรืออุดตันมีความรุนแรง ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องหลอดเลือดหรือผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดจะช่วยให้ภาวะความดันโลหิตสูงหรืออาการเจ็บหน้าอกทุเลาลง รวมทั้งช่วยป้องกันการแตกของเส้นเลือดหากผู้ป่วยมีภาวะเส้นเลือดโป่งพอง แต่การผ่าตัดจะมีประสิทธิภาพเมื่อการอักเสบของเส้นเลือดลดลง โดยทางเลือกในการผ่าตัดมีดังนี้ การอักเสบที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นเลือดได้รับความเสียหาย และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา ดังนี้ นอกจากนี้ ยาบางชนิดที่ใช้เพื่อการรักษาโรคทากายาสุอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่วางแผนจะมีบุตรควรวางปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ และควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ โรค Takayasu’s Arteritis ไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจความหมาย Takayasu's Arteritis
อาการของ Takayasu’s Arteritis
สาเหตุของ Takayasu’s Arteritis
การวินิจฉัย Takayasu’s Arteritis
การรักษา Takayasu’s Arteritis
ภาวะแทรกซ้อนของ Takayasu’s Arteritis
การป้องกัน Takayasu’s Arteritis