Illness name: ครรภ์เป็นพิษ
Description: ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย เพราะทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวปะปนอยู่ในปัสสาวะ ไตทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอื่น ๆ โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ หรือบางกรณีอาจเกิดกับอายุครรภ์ที่น้อยกว่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา อาจทำให้เกิดอาการชักขณะตั้งครรภ์หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ ตามมาได้ ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็น 1 ในภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ส่วนภาวะความดันโลหิตสูงชนิดอื่นแบ่งออกได้ตามอาการที่พบ ดังนี้ โดยทั่วไป อาการความดันโลหิตสูงควรดีขึ้นภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากผู้ป่วยยังเผชิญปัญหานี้ ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างเหมาะสมต่อไป อาการของครรภ์เป็นพิษ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ซึ่งมักไม่ค่อยพบอาการแสดงอย่างชัดเจน หรืออาจมีอาการเล็กน้อย โดยอาการที่พบได้บ่อยของภาวะครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้ สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากหลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัว จึงนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงและมีปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายน้อยลง รวมทั้งเลือดที่ไหลเวียนไปยังรกด้วย จนทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษ การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์ต้องตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงควบคู่กับอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ด้วยวิธีการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การรักษาครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษรักษาให้หายได้ด้วยการคลอดท่านั้น โดยอาการป่วยต่าง ๆ จะค่อย ๆ หายไปเองหลังการคลอด อย่างไรก็ตาม แพทย์จะต้องพิจารณาหลายปัจจัยก่อนทำคลอดด้วย เช่น ระยะเวลาของการตั้งครรภ์ สุขภาพของผู้ป่วย หรือความรุนแรงของอาการ หากผู้ป่วยมีอายุครรภ์น้อย แพทย์อาจยังไม่สามารถทำคลอดได้ทันที จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและประคับประคองอาการจนกว่าใกล้ถึงระยะเวลาที่พร้อมคลอดได้อย่างปลอดภัย แต่หากมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดหรือผ่าคลอด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ โดยทั่วไป หากแพทย์ตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจมีวิธีการรักษาประคองอาการจนกว่าผู้ป่วยจะคลอด ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ การป้องกันครรภ์เป็นพิษ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดป้องกันการเกิดครรภ์เป็นพิษได้ แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีการ ดังนี้ความหมาย ครรภ์เป็นพิษ